•  
  •  
 
Chulalongkorn Medical Journal

Abstract

ที่มาของงานวิจัย : ผลกระทบจากการใช้สมาร์ทโฟนเพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะภาวะ nomophobiaคือ ภาวะวิตกกังวลกลัวการขาดสมาร์ทโฟน ซึ่งพบมากขึ้นในกลุ่มเยาวชนในประเทศไทย การศึกษาวิจัยที่เกี่ยวข้องยังมีจำกัดขณะที่ในหลายประเทศศึกษาวิจัยในประเด็นนี้กันแพร่หลายวัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาความชุกของภาวะ nomophobia ในกลุ่มนิสิตนักศึกษาไทยระดับปริญญาตรีทั่วประเทศวิธีวิจัย : รวบรวมข้อมูลในกลุ่มนิสิตนักศึกษาไทยระดับปริญญาตรีจำนวน 3,045 คนที่ถูกสุ่มเลือกด้วยเทคนิคการสุ่มแบบหลายขั้นตอนจากมหาวิทยาลัยภาครัฐทั้งหมด 9 แห่งทั่วประเทศ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามแบบตอบด้วยตนเอง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติการทดสอบไคว์สแควร์ผลการศึกษา : ร้อยละ 99.5 ของกลุ่มตัวอย่างมีภาวะ nomophobia ส่วนใหญ่อยู่ในระดับความรุนแรงปานกลาง (ร้อยละ 60.6) ลักษณะอาการที่แสดงออกมาอย่างเด่นชัดมากที่สุด คือ กลุ่มตัวอย่างรู้สึกวิตกกังวลใจเมื่อสมาชิกในครอบครัวหรือเพื่อนไม่สามารถติดต่อกับตนเองได้อีกทั้งพบว่าเกมส์เป็นโปรแกรมที่กลุ่มตัวอย่างดาวน์โหลดมาใช้เป็นประจำมากที่สุด (ร้อยละ 98.5) และเป็นกิจกรรมที่กลุ่มตัวอย่างทำมากที่สุดเมื่อรู้สึกเบื่อหน่ายและเมื่ออยู่คนเดียว(P < 0.05)สรุป : การศึกษาการใช้สมาร์ทโฟนควรต้องมีการดำเนินการอย่างจริงจังเพื่อป้องกันภาวะ nomophobia ซึ่งหากอาการรุนแรงมากอาจนำไปสู่ภาวะทางจิตเวชต่อไปได้.

Publisher

Faculty of Medicine, Chulalongkorn University

First Page

249

Last Page

259

Share

COinS