•  
  •  
 
Chulalongkorn Medical Journal

Abstract

เหตุผลของการวิจัย : โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke หรือ Cerebrovascular disease: CVD)เป็นภาวะความเจ็บป่วยเฉียบพลันที่พบได้มากในผู้ป่วยกลุ่มอาการทางระบบประสาทและยังเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของโลกผู้ป่วยต้องตกอยู่ในสภาวะความพิการ บกพร่องหรือสูญเสียการทำหน้าที่ของแขนและขา ซึ่งต้องใช้ระยะเวลาพอสมควรในการฟื้นฟูสภาพร่างกายความพิการส่งผลต่อสุขภาพจิตของผู้ป่วยในหลาย ๆ ด้าน โดยเฉพาะอาการวิตกกังวลและอาการซึมเศร้าวัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาความชุกของอาการวิตกกังวลและอาการซึมเศร้าในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่ได้รับการเยี่ยมบ้าน และเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของอาการวิตกกังวลและอาการซึมเศร้าต่อการฟื้นตัวของระบบสั่งงานกล้ามเนื้อ และความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตัวอย่างและวิธีการศึกษา : เก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่เข้าร่วมโครงการเยี่ยมผู้ป่วยที่บ้าน ผ่านเกณฑ์การคัดเข้า และยินยอมที่จะเข้าร่วมการวิจัยจำนวน 52 ราย จากนั้นจะทำการเก็บข้อมูลส่วนบุคคล ข้อมูลทางการแพทย์ แบบวัดอาการวิตกกังวลและอาการซึมเศร้าของผู้ป่วยฉบับภาษาไทย แบบประเมินความสามารถในการเคลื่อนไหวแบบประเมินดัชนี บาร์เธล เอ ดี แอล และพิสัยข้อไหล่ เมื่อผ่านไป 1 เดือนผู้วิจัยได้เข้าเยี่ยมผู้ป่วยที่บ้านอีกครั้งหนึ่งและทำการประเมินครั้งที่ 2ด้วยแบบประเมินชุดเดียวกับที่ใช้ในครั้งแรก ข้อมูลที่ได้วิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงพรรณนาในรูปของร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานใช้ไค-สแควร์ และสถิติการถดถอยโลจิสติกเพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต้นกับตัวแปรตามผลการศึกษา : พบว่าร้อยละ 55.8 มีอาการวิตกกังวลและอาการซึมเศร้าจากการเยี่ยมในครั้งแรก (คิดเป็นอาการวิตกกังวลร้อยละ 19.2 และอาการซึมเศร้าร้อยละ 51.9) เมื่อผู้ป่วยเข้าร่วมโครงการเยี่ยมผู้ป่วยที่บ้านเป็นเวลา1 เดือน พบว่ามีอาการวิตกกังวลและอาการซึมเศร้าเพียงร้อยละ 25.0(คิดเป็นอาการวิตกกังวลร้อยละ 9.6 และอาการซึมเศร้าร้อยละ 21.2)นอกจากนี้ยังพบว่าอาการวิตกกังวลและอาการซึมเศร้ามีความสัมพันธ์กับการฟื้นตัวของระบบสั่งงานกล้ามเนื้อ ความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันและพิสัยข้อไหล่อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับP <0.05 และเมื่อวิเคราะห์ด้วยสถิติการถดถอยโลจิสติก พบว่าปัจจัยทำนายการฟื้นตัวของระบบสั่งงานกล้ามเนื้อและการเคลื่อนไหว คือนักกายภาพบำบัดส่วนตัวที่จ้างเพิ่มเติมเพื่อมาทำให้ที่บ้าน, ตำแหน่งพยาธิสภาพของสมองซีกซ้าย, อาการวิตกกังวลและอาการซึมเศร้า(P <0.05) ปัจจัยทำนายความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันคืออายุ, รายได้ อาการวิตกกังวลและอาการซึมเศร้า(P <0.05) และปัจจัยทำนายพิสัยข้อไหล่ข้างอ่อนแรงคือ รายได้, อาการปวดไหล่, และนักกายภาพบำบัดส่วนตัว (P <0.05)สรุป : ความชุกของอาการวิตกกังวลและอาการซึมเศร้าในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองค่อนข้างสูง แต่ความชุกของอาการวิตกกังวลและอาการซึมเศร้าลดลงเมื่อผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองได้เข้าร่วมโครงการเยี่ยมผู้ป่วยที่บ้าน นอกจากนี้อาการวิตกกังวลและอาการซึมเศร้ายังมีความสัมพันธ์กับการฟื้นตัวของระบบสั่งงานกล้ามเนื้อ การทำกิจวัตรประจำวัน และพิสัยข้อไหล่ด้วยเช่นกัน.

DOI

10.58837/CHULA.CMJ.61.2.8

First Page

233

Last Page

247

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.