Abstract
เหตุผลของการวิจัย : โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke หรือ Cerebrovascular disease: CVD)เป็นภาวะความเจ็บป่วยเฉียบพลันที่พบได้มากในผู้ป่วยกลุ่มอาการทางระบบประสาทและยังเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของโลกผู้ป่วยต้องตกอยู่ในสภาวะความพิการ บกพร่องหรือสูญเสียการทำหน้าที่ของแขนและขา ซึ่งต้องใช้ระยะเวลาพอสมควรในการฟื้นฟูสภาพร่างกายความพิการส่งผลต่อสุขภาพจิตของผู้ป่วยในหลาย ๆ ด้าน โดยเฉพาะอาการวิตกกังวลและอาการซึมเศร้าวัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาความชุกของอาการวิตกกังวลและอาการซึมเศร้าในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่ได้รับการเยี่ยมบ้าน และเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของอาการวิตกกังวลและอาการซึมเศร้าต่อการฟื้นตัวของระบบสั่งงานกล้ามเนื้อ และความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตัวอย่างและวิธีการศึกษา : เก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่เข้าร่วมโครงการเยี่ยมผู้ป่วยที่บ้าน ผ่านเกณฑ์การคัดเข้า และยินยอมที่จะเข้าร่วมการวิจัยจำนวน 52 ราย จากนั้นจะทำการเก็บข้อมูลส่วนบุคคล ข้อมูลทางการแพทย์ แบบวัดอาการวิตกกังวลและอาการซึมเศร้าของผู้ป่วยฉบับภาษาไทย แบบประเมินความสามารถในการเคลื่อนไหวแบบประเมินดัชนี บาร์เธล เอ ดี แอล และพิสัยข้อไหล่ เมื่อผ่านไป 1 เดือนผู้วิจัยได้เข้าเยี่ยมผู้ป่วยที่บ้านอีกครั้งหนึ่งและทำการประเมินครั้งที่ 2ด้วยแบบประเมินชุดเดียวกับที่ใช้ในครั้งแรก ข้อมูลที่ได้วิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงพรรณนาในรูปของร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานใช้ไค-สแควร์ และสถิติการถดถอยโลจิสติกเพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต้นกับตัวแปรตามผลการศึกษา : พบว่าร้อยละ 55.8 มีอาการวิตกกังวลและอาการซึมเศร้าจากการเยี่ยมในครั้งแรก (คิดเป็นอาการวิตกกังวลร้อยละ 19.2 และอาการซึมเศร้าร้อยละ 51.9) เมื่อผู้ป่วยเข้าร่วมโครงการเยี่ยมผู้ป่วยที่บ้านเป็นเวลา1 เดือน พบว่ามีอาการวิตกกังวลและอาการซึมเศร้าเพียงร้อยละ 25.0(คิดเป็นอาการวิตกกังวลร้อยละ 9.6 และอาการซึมเศร้าร้อยละ 21.2)นอกจากนี้ยังพบว่าอาการวิตกกังวลและอาการซึมเศร้ามีความสัมพันธ์กับการฟื้นตัวของระบบสั่งงานกล้ามเนื้อ ความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันและพิสัยข้อไหล่อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับP <0.05 และเมื่อวิเคราะห์ด้วยสถิติการถดถอยโลจิสติก พบว่าปัจจัยทำนายการฟื้นตัวของระบบสั่งงานกล้ามเนื้อและการเคลื่อนไหว คือนักกายภาพบำบัดส่วนตัวที่จ้างเพิ่มเติมเพื่อมาทำให้ที่บ้าน, ตำแหน่งพยาธิสภาพของสมองซีกซ้าย, อาการวิตกกังวลและอาการซึมเศร้า(P <0.05) ปัจจัยทำนายความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันคืออายุ, รายได้ อาการวิตกกังวลและอาการซึมเศร้า(P <0.05) และปัจจัยทำนายพิสัยข้อไหล่ข้างอ่อนแรงคือ รายได้, อาการปวดไหล่, และนักกายภาพบำบัดส่วนตัว (P <0.05)สรุป : ความชุกของอาการวิตกกังวลและอาการซึมเศร้าในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองค่อนข้างสูง แต่ความชุกของอาการวิตกกังวลและอาการซึมเศร้าลดลงเมื่อผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองได้เข้าร่วมโครงการเยี่ยมผู้ป่วยที่บ้าน นอกจากนี้อาการวิตกกังวลและอาการซึมเศร้ายังมีความสัมพันธ์กับการฟื้นตัวของระบบสั่งงานกล้ามเนื้อ การทำกิจวัตรประจำวัน และพิสัยข้อไหล่ด้วยเช่นกัน.
DOI
10.58837/CHULA.CMJ.61.2.8
First Page
233
Last Page
247
Recommended Citation
จิตภักดี, วีระชัย; สันติเบ็ญจกุล, สมรักษ์; and พิรเวช, กฤษณา
(2017)
"ความชุกของอาการวิตกกังวลและอาการซึมเศร้าในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่ได้รับการเยี่ยมบ้าน และผลต่อการฟื้นตัวของระบบสั่งงานกล้ามเนื้อ และความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวัน,"
Chulalongkorn Medical Journal: Vol. 61:
Iss.
2, Article 8.
DOI: https://doi.org/10.58837/CHULA.CMJ.61.2.8
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/clmjournal/vol61/iss2/8