Abstract
ปัญหา : การตรวจ hand elevation test นำมาใช้ในการวินิจฉัยโรคเส้นประสาทมีเดียนถูกกดรัดบริเวณอุโมงค์ข้อมือ (carpal tunnel syndrome, CTS) ได้ดีหรือไม่วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาความไวและความจำเพาะของการตรวจ hand elevation test ในการวินิจฉัยโรค CTS และเปรียบเทียบกับการตรวจอื่นวิธีการศึกษา : ผู้ป่วยที่มีอาการเข้าได้กับโรค CTS มารับการตรวจที่ห้องตรวจไฟฟ้าวินิจฉัยโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ผู้ป่วยที่มีอาการเข้าได้กับโรค CTS 48 ราย ได้รับการตรวจ hand elevation test, Tinel’s test, modified Phalen’s test และcarpal compression test ร่วมกับตรวจไฟฟ้าวินิจฉัยเพื่อยืนยันการวินิจฉัยโรคCTS แล้ววิเคราะห์ค่าความไว และความจำเพาะของการตรวจแต่ละประเภทผลการศึกษา hand elevation test, Tinel’s test, modified Phalen’s test และ carpalcompression test ความไว คิดเป็นร้อยละ 74, 24.7, 46.8 และ 64.9ความจำเพาะ คิดเป็นร้อยละ 52.6, 89.5, 57.9 และ 73.7 ตามลำดับ การแปลผลแบบร่วมของ hand elevation test และ carpal compression test มีความไวสูงสุด ร้อยละ 80.5สรุป : การตรวจ hand elevation test มีความไวสูงสุด เหมาะในการใช้วินิจฉัยโรคเส้นประสาทมีเดียนถูกกดรัดบริเวณอุโมงค์ข้อมือ และการแปลผลร่วมกันของ hand elevation test และ carpal compression test ความไวสูงสุด ช่วยเพิ่มความเชื่อมั่นในการวินิจฉัยได้.
DOI
10.58837/CHULA.CMJ.61.2.7
First Page
223
Last Page
231
Recommended Citation
เศรษฐมงคล, กุลยา and ปัญญาศรีวณิช, สิริขวัญ
(2017)
"ความไวและความจำเพาะของการทดสอบโดยยกมือเหนือศีรษะในโรคเส้นประสาทมีเดียนถูกกดรัดบริเวณอุโมงค์ข้อมือ,"
Chulalongkorn Medical Journal: Vol. 61:
Iss.
2, Article 7.
DOI: https://doi.org/10.58837/CHULA.CMJ.61.2.7
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/clmjournal/vol61/iss2/7