Abstract
เหตุผลของการทำวิจัย : การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบการสื่อสารในครอบครัวกับความฉลาดทางอารมณ์ที่ผ่านมา ส่วนใหญ่ศึกษาในเด็กปกติ ซึ่งความฉลาดทางอารมณ์เป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้เด็กมีความพึงพอใจในตนเอง สามารถควบคุมอารมณ์ได้และพร้อมที่จะพัฒนาตนเองวัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาความฉลาดทางอารมณ์ของเด็กสมาธิสั้น และรูปแบบการสื่อสารภายในครอบครัวของเด็กสมาธิสั้น รวมทั้งศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบการสื่อสารภายในครอบครัวกับความฉลาดทางอารมณ์ของเด็กสมาธิสั้นตัวอย่างและวิธีการศึกษา : กลุ่มตัวอย่างผู้ปกครองของเด็กสมาธิสั้นที่อายุ 6 - 11 ปี ที่มารับการตรวจรักษาที่แผนกผู้ป่วยนอก หน่วยจิตเวชเด็กและวัยรุ่นโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์จำนวน 106 คน เก็บข้อมูลตั้งแต่ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2558 ถึงเดือนมกราคม พ.ศ. 2559 โดยใช้แบบสอบถาม 3 ส่วน ประกอบด้วยแบบสอบถามข้อมูลทั่วไป รูปแบบการสื่อสารภายในครอบครัว ของปาริชาติ ธาราพัตราพร ตามแนวคิดของ Kanter and Lehr และแบบประเมินความฉลาดทางอารมณ์ของกรมสุขภาพจิต วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาการทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบจำแนกทางเดียวสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และสถิติถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอนผลการศึกษา : เด็กสมาธิสั้นมีความฉลาดทางอารมณ์ด้านดีอยู่ในระดับปกติร้อยละ57.5 ด้านเก่งอยู่ในระดับปกติร้อยละ 66.0 ด้านสุขอยู่ในระดับปกติร้อยละ 49.1 และมีรูปแบบการสื่อสารในครอบครัวปิดในระดับสูงร้อยละ 70.8 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความฉลาดทางอารมณ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ อายุ อาชีพของผู้ปกครอง ผลการเรียนของเด็กสมาธิสั้น รูปแบบการสื่อสารในครอบครัวแบบเปิดมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับคะแนนความฉลาดทางอารมณ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P <0.01) และปัจจัยที่สามารถทำนายความฉลาดทางอารมณ์ของเด็กสมาธิสั้นให้ดีขึ้นได้ คืออายุ อาชีพของผู้ปกครองผลการเรียนของเด็กสมาธิสั้น และรูปแบบการสื่อสารในครอบครัวแบบเปิดสรุป : เด็กสมาธิสั้นมีความฉลาดทางอารมณ์อยู่ในระดับปกติทั้ง 3 ด้านด้านดี ด้านเก่ง และด้านสุข ส่วนปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความฉลาดทางอารมณ์ของเด็กสมาธิสั้น คือ อายุ อาชีพของผู้ปกครองผลการเรียนของเด็กสมาธิสั้น และรูปแบบการสื่อสารในครอบครัวแบบเปิด.
DOI
10.58837/CHULA.CMJ.61.2.11
First Page
275
Last Page
287
Recommended Citation
คงเจริญ, จิดาภา and วัชรสินธุ, อลิสา
(2017)
"ความสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบการสื่อสารภายในครอบครัวกับความฉลาดทางอารมณ์ของเด็กสมาธิสั้นในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์,"
Chulalongkorn Medical Journal: Vol. 61:
Iss.
2, Article 11.
DOI: https://doi.org/10.58837/CHULA.CMJ.61.2.11
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/clmjournal/vol61/iss2/11