•  
  •  
 
Chulalongkorn Medical Journal

Abstract

เหตุผลของการทำวิจัย : การศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษาเป็นการศึกษาเพื่อมุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้พัฒนาองค์ความรู้และความเชี่ยวชาญเฉพาะทางทำให้ผู้เรียนต้องศึกษาค้นคว้าหาความรู้ จากแหล่งสารสนเทศต่าง ๆ ด้วยตนเองเพื่อนำมาใช้ในศึกษาค้นคว้า วิจัย และสร้างองค์ความรู้ใหม่ จึงจำเป็นต้องแสวงหาสารสนเทศจากแหล่งต่าง ๆ เพื่อให้ได้สารสนเทศตรงตามความต้องการ ผู้วิจัยจึงศึกษาพฤติกรรมการแสวงหาสารสนเทศของนิสิตในระดับบัณฑิตศึกษาเพื่อนำมาเป็นแนวทางในการจัดบริการการสร้างเสริมพฤติกรรมการแสวงหาสารสนเทศ หรือการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองของนิสิตวัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาพฤติกรรมการแสวงหาสารสนเทศของนิสิตระดับบัณฑิตศึกษา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและเพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมการแสวงหาสารสนเทศของนิสิตระดับบัณฑิตศึกษาคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจำแนกตามสาขาวิชาและระดับการศึกษากลุ่มตัวอย่างและวิธีการศึกษา : นิสิตระดับบัณฑิตศึกษา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ภาคการศึกษาต้นปีการศึกษา 2558 จำนวน187 ราย ได้รับแบบสอบถามกลับคืน 169 ชุด เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามที่ผ่านการประเมินความเที่ยงตรงจากผู้เชี่ยวชาญ และวิเคราะห์ค่าความเชื่อมั่นโดยวิธีของคอรนบาค สถิติที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ค่าร้อยละ ค่าความถี่ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t – test และ one way ANOVAผลการศึกษา : นิสิตส่วนใหญ่มีวัตถุประสงค์/จุดมุ่งหมายในการแสวงหาสารสนเทศเพื่อทำวิทยานิพนธ์/ดุษฎีนิพนธ์ มีพฤติกรรมการแสวงหาสารสนเทศ ดังนี้ 1. เริ่มต้นจากวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง/บรรณานุกรม 2. สำรวจเลือกดูสารสนเทศจากฐานข้อมูลออนไลน์ในห้องสมุด 3. เชื่อมโยงสารสนเทศจากรายการอ้างอิงหรือบรรณานุกรม 4. แยกแยะสารสนเทศจากความน่าเชื่อถือของแหล่งที่มาความเกี่ยวข้องกันของเนื้อหาสารสนเทศ5. ตรวจตราสารสนเทศจากสื่อสังคมออนไลน์ 6. ดึงสารสนเทศออกมาใช้จากบทคัดย่อ/ผลการศึกษา/ผลการวิจัย/ระเบียบวิธีวิจัยเอกสาร หนังสือ วารสาร อ้างอิงแหล่งที่มา 7. ตรวจสอบสารสนเทศจากแหล่งที่มา/การอ้างอิงของข้อมูล 8. ขั้นตอนสุดท้ายนำสารสนเทศที่ได้ไปใช้งานตามวัตถุประสงค์ที่แสวงหาผลเปรียบเทียบพฤติกรรมการแสวงหาสารสนเทศพบว่านิสิตที่มีสาขาวิชาและระดับการศึกษาต่างกันมีพฤติกรรมการแสวงหาสารสนเทศไม่แตกต่างกันสรุป : นิสิตระดับบัณฑิตศึกษา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยส่วนใหญ่มีวัตถุประสงค์มีการแสวงหาสารสนเทศเพื่อทำวิทยานิพนธ์/ดุษฎีนิพนธ์ มีพฤติกรรมการแสวงหาสารสนเทศประกอบด้วย การเริ่มต้น การสำรวจเลือกดู การเชื่อมโยงสารสนเทศ การแยกแยะ การตรวจตรา การดึงสารสนเทศออกมาใช้ การตรวจสอบการจบ นิสิตที่มีสาขาวิชาและระดับการศึกษาต่างกันมีพฤติกรรมการแสวงหาสารสนเทศโดยรวมที่ไม่แตกต่างกัน.

DOI

10.58837/CHULA.CMJ.61.2.10

First Page

261

Last Page

274

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.