•  
  •  
 
Chulalongkorn Medical Journal

Abstract

เหตุผลของการทำวิจัย : การศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษาเป็นการศึกษาเพื่อมุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้พัฒนาองค์ความรู้และความเชี่ยวชาญเฉพาะทางทำให้ผู้เรียนต้องศึกษาค้นคว้าหาความรู้ จากแหล่งสารสนเทศต่าง ๆ ด้วยตนเองเพื่อนำมาใช้ในศึกษาค้นคว้า วิจัย และสร้างองค์ความรู้ใหม่ จึงจำเป็นต้องแสวงหาสารสนเทศจากแหล่งต่าง ๆ เพื่อให้ได้สารสนเทศตรงตามความต้องการ ผู้วิจัยจึงศึกษาพฤติกรรมการแสวงหาสารสนเทศของนิสิตในระดับบัณฑิตศึกษาเพื่อนำมาเป็นแนวทางในการจัดบริการการสร้างเสริมพฤติกรรมการแสวงหาสารสนเทศ หรือการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองของนิสิตวัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาพฤติกรรมการแสวงหาสารสนเทศของนิสิตระดับบัณฑิตศึกษา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและเพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมการแสวงหาสารสนเทศของนิสิตระดับบัณฑิตศึกษาคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจำแนกตามสาขาวิชาและระดับการศึกษากลุ่มตัวอย่างและวิธีการศึกษา : นิสิตระดับบัณฑิตศึกษา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ภาคการศึกษาต้นปีการศึกษา 2558 จำนวน187 ราย ได้รับแบบสอบถามกลับคืน 169 ชุด เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามที่ผ่านการประเมินความเที่ยงตรงจากผู้เชี่ยวชาญ และวิเคราะห์ค่าความเชื่อมั่นโดยวิธีของคอรนบาค สถิติที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ค่าร้อยละ ค่าความถี่ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t – test และ one way ANOVAผลการศึกษา : นิสิตส่วนใหญ่มีวัตถุประสงค์/จุดมุ่งหมายในการแสวงหาสารสนเทศเพื่อทำวิทยานิพนธ์/ดุษฎีนิพนธ์ มีพฤติกรรมการแสวงหาสารสนเทศ ดังนี้ 1. เริ่มต้นจากวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง/บรรณานุกรม 2. สำรวจเลือกดูสารสนเทศจากฐานข้อมูลออนไลน์ในห้องสมุด 3. เชื่อมโยงสารสนเทศจากรายการอ้างอิงหรือบรรณานุกรม 4. แยกแยะสารสนเทศจากความน่าเชื่อถือของแหล่งที่มาความเกี่ยวข้องกันของเนื้อหาสารสนเทศ5. ตรวจตราสารสนเทศจากสื่อสังคมออนไลน์ 6. ดึงสารสนเทศออกมาใช้จากบทคัดย่อ/ผลการศึกษา/ผลการวิจัย/ระเบียบวิธีวิจัยเอกสาร หนังสือ วารสาร อ้างอิงแหล่งที่มา 7. ตรวจสอบสารสนเทศจากแหล่งที่มา/การอ้างอิงของข้อมูล 8. ขั้นตอนสุดท้ายนำสารสนเทศที่ได้ไปใช้งานตามวัตถุประสงค์ที่แสวงหาผลเปรียบเทียบพฤติกรรมการแสวงหาสารสนเทศพบว่านิสิตที่มีสาขาวิชาและระดับการศึกษาต่างกันมีพฤติกรรมการแสวงหาสารสนเทศไม่แตกต่างกันสรุป : นิสิตระดับบัณฑิตศึกษา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยส่วนใหญ่มีวัตถุประสงค์มีการแสวงหาสารสนเทศเพื่อทำวิทยานิพนธ์/ดุษฎีนิพนธ์ มีพฤติกรรมการแสวงหาสารสนเทศประกอบด้วย การเริ่มต้น การสำรวจเลือกดู การเชื่อมโยงสารสนเทศ การแยกแยะ การตรวจตรา การดึงสารสนเทศออกมาใช้ การตรวจสอบการจบ นิสิตที่มีสาขาวิชาและระดับการศึกษาต่างกันมีพฤติกรรมการแสวงหาสารสนเทศโดยรวมที่ไม่แตกต่างกัน.

DOI

10.58837/CHULA.CMJ.61.2.10

First Page

261

Last Page

274

Plum Print visual indicator of research metrics
PlumX Metrics
  • Usage
    • Downloads: 111
    • Abstract Views: 96
  • Captures
    • Readers: 1
see details

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.