
Article Title
Abstract
ประเทศไทยกำหนดนิยาม “ผู้สูงอายุ” ไว้ในพระราชบัญญัติผู้สูงอายุพ.ศ. 2546 มาตรา 3 “ผู้สูงอายุ” หมายความว่า บุคคลซึ่งมีอายุเกิน หกสิบปีบริบูรณ์ขึ้นไป และมีสัญชาติไทย แต่ในประเทศที่พัฒนาแล้วส่วนใหญ่ใช้อายุ 65 ปีขึ้นไป การแบ่งช่วงอายุของผู้สูงวัยสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ช่วง คือ วัยต้น (อายุ 60 - 69 ปี) วัยกลาง (อายุ 70 - 79 ปี) และวัยปลาย (อายุ 80 ปีขึ้นไป) ผลการสำรวจข้อมูลประชากรสูงวัยในประเทศไทยของสำนักงานสถิติแห่งชาติในปีพ.ศ. 2557 พบว่า ประเทศไทยมีผู้สูงวัยจำนวนร้อยละ 14.9 ซึ่งเพิ่มขึ้นมากกว่าปีพ.ศ. 2537 ถึง 2 เท่า โดยสามารถจำแนกผู้สูงวัยเป็นวัยต้น ร้อยละ 56.5 วัยกลางร้อยละ 29.9 และวัยปลาย ร้อยละ 13.6 ประเทศไทยกำลังจะกลายเป็น “สังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์” ในปีพ.ศ. 2564 หรือในอีกเพียง 4 ปีข้างหน้าเมื่อประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปมีมากถึงร้อยละ 20 และคาดว่าจะเป็น “สังคมสูงวัยระดับสุดยอด” ในอีกไม่ถึง 20 ปีข้างหน้านี้เมื่อประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปมีสัดส่วนถึงร้อยละ 28 ของประชากรทั้งหมด.
Publisher
Faculty of Medicine, Chulalongkorn University
First Page
149
Last Page
150
Recommended Citation
พิรเวช, กฤษณา
(2017)
"บทบาทของเวชศาสตร์ฟื้นฟู ในสังคมผู้สูงอายุ,"
Chulalongkorn Medical Journal: Vol. 61:
Iss.
2, Article 1.
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/clmjournal/vol61/iss2/1