Abstract
เหตุผลของการทำวิจัย : ปัญหาหลอดเลือดเทียมตีบตันเฉียบพลัน (acute shunt occlusion orblockage) ในผู้ป่วยเด็กโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดชนิดเขียว ที่เข้ารับการผ่าตัด modified Blalock-Taussig shunt (MBTS) เป็นภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญ ซึ่งอาจนำไปสู่การเสียชีวิตของผู้ป่วยได้วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาหาปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดภาวะหลอดเลือดเทียมตีบตันเฉียบพลัน อันอาจเป็นประโยชน์ในการช่วยวินิจฉัยและวางแผนป้องกันภาวะหลอดเลือดเทียมตีบตันเฉียบพลัน ซึ่งอาจช่วยลดภาวะแทรกซ้อนที่จะเกิดตามมาได้วิธีดำเนินการวิจัย : เก็บรวบรวมข้อมูลของผู้ป่วยเด็กโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดชนิดเขียวอายุ 0 – 3 เดือนที่เข้ารับการผ่าตัด MBTS ในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ช่วงระหว่างวันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2545 - 31 ธันวาคม พ.ศ. 2553จำนวน 123 ราย โดยแบ่งเป็นข้อมูลทั่วไป ข้อมูลก่อนและหลังการผ่าตัดข้อมูลการผ่าตัด แล้วนำมาวิเคราะห์ทางสถิติ เพื่อหาความสัมพันธ์ต่อการเกิดภาวะหลอดเลือดเทียมตีบตันเฉียบพลันผลการวิจัย : ผู้ป่วยจำนวนทั้งหมด 123 ราย อายุเฉลี่ย 28 วัน น้ำหนักตัวเฉลี่ย 3.17กิโลกรัม ขนาดของหลอดเลือดเทียมที่ใช้อยู่ระหว่าง 2.5 - 5.0 มิลลิเมตรพบอุบัติการณ์การเกิดภาวะหลอดเลือดเทียมตีบตันเฉียบพลันจำนวน22 ราย (17.9%) โดยพบว่าปัจจัยที่มีความเกี่ยวข้องกับภาวะหลอดเลือดเทียมตีบตันเฉียบพลันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ น้ำหนักตัวของผู้ป่วย, ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของ subclavian artery, ขนาดของหลอดเลือดเทียมที่ใช้, และการให้ PGE1 เป็นระยะเวลานานในผู้ป่วยที่มีpatent ductus arteriosus (PDA) ก่อนการทำผ่าตัด (P value = 0.007,0.00, 0.042 และ 0.001 ตามลำดับ) การเปลี่ยนแปลงของความเข้มข้นของออกซิเจน (SpO2) ที่ลดลง 4 ชั่วโมงหลังผ่าตัดเป็นสิ่งที่บ่งชี้อย่างหนึ่งว่าอาจเริ่มมีภาวะหลอดเลือดเทียมตีบตันเกิดขึ้น (P value = 0.012)ผู้ป่วยที่มีภาวะหลอดเลือดเทียมตีบตันเฉียบพลันจำนวน 22 ราย ได้รับการรักษาโดยการทำ cardiac catheterization with interventionเพียงอย่างเดียว 13 ราย, ทำ cardiac catheterization และส่งผ่าตัด7 ราย ส่วนผู้ป่วยอีก 2 รายเสียชีวิตก่อนจากสาเหตุอื่นที่ไม่เกี่ยวกับภาวะหลอดเลือดเทียมตีบตันสรุป : ภาวะหลอดเลือดเทียมตีบตันเฉียบพลันส่วนใหญ่เกิดขึ้นภายใน24 ชั่วโมงแรกหลังการผ่าตัด โดยพบว่าปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดภาวะหลอดเลือดเทียมตีบตันเฉียบพลัน ได้แก่ น้ำหนักตัวของผู้ป่วย,ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของ subclavian artery, ขนาดของหลอดเลือดเทียมที่ใช้, และการให้ PGE1 เป็นระยะเวลานาน การรักษาผู้ป่วยที่มีภาวะหลอดเลือดเทียมตีบตันเฉียบพลันโดยวิธี cardiac catheterizationwith intervention เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ดีและอาจใช้ทดแทนการผ่าตัดแก้ไขเร่งด่วนได้.
DOI
10.58837/CHULA.CMJ.61.1.7
First Page
73
Last Page
85
Recommended Citation
ลออคุณ, วิทวัส; พงศ์พิทยุตม์, สรวิชญ์; and เลิศทรัพย์เจริญ, พรเทพ
(2017)
"ปัจจัยที่มีผลต่อภาวะตีบตันเฉียบพลันของหลอดเลือดเทียมในผู้ป่วยเด็กอายุต่ำกว่า 3 เดือนที่เป็นโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดชนิดเขียว หลังการผ่าตัดใส่หลอดเลือดเทียมเพื่อให้เลือดไปเลี้ยงปอดมากขึ้น (modifiedBlalock-Taussig shunt; MBTS)ในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์,"
Chulalongkorn Medical Journal: Vol. 61:
Iss.
1, Article 7.
DOI: https://doi.org/10.58837/CHULA.CMJ.61.1.7
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/clmjournal/vol61/iss1/7