Abstract
ปัญหาผมร่วง (hair fall) ผมบาง (thinning of hair or hair loss) พบได้บ่อยทั้งในผู้หญิงและผู้ชายส่วนใหญ่เป็น androgenetic alopecia (AGA) ซึ่งเกิดจากพันธุกรรมและฮอร์โมนแอนโดรเจนโดยมีการศึกษาในประเทศไทยพบว่าความชุกของภาวะผมบาง (permanent hair loss) เพิ่มขึ้นตามอายุโดยชายที่อายุ 50 ปี พบได้ร้อยละ 34 และพบได้ร้อยละ 67.7 เมื่ออายุ 80 ปี สาเหตุอื่นของภาวะผมร่วง (hair fall) ได้แก่ โรคผิวหนัง อุบัติเหตุ และรอยแผลเป็น ภาวะผมร่วง ผมบางนี้แม้มีผลกระทบต่อสุขภาพทางกายน้อยแต่มีผลมากต่อจิตใจ ทำให้เกิดความเครียด ขาดความมั่นใจ และมีปัญหาต่อการเข้าสังคม การรักษาในปัจจุบันมีทั้งการใช้ยา หวีเลเซอร์ รวมไปถึงการปลูกถ่ายเส้นผมซึ่งการผ่าตัดปลูกถ่ายเส้นผมนี้เป็นส่วนเพิ่มเติมจากศัลยกรรมตกแต่งดั้งเดิม โดยมีพัฒนาการอย่างต่อเนื่องและซับซ้อน เทคโนโลยีการปลูกถ่ายเส้นผมในยุคใหม่ทำให้เกิดผลลัพธ์ที่ดี เป็นธรรมชาติยั่งยืน และมีความปลอดภัยสูง การพัฒนาที่เกิดขึ้นเกิดจากความเข้าใจต่อลักษณะทางชีวภาพและสรีรวิทยาของเส้นผมที่ดีขึ้น ประกอบกับวิธีการผ่าตัดที่ทันสมัย กุญแจสำคัญที่นำไปสู่ความสำเร็จของการปลูกถ่ายเส้นผม ได้แก่ การเลือก graft ที่เหมาะสม ตำแหน่งที่ปลูกถ่าย ความหนาแน่นที่เลือกใช้ และการเลือก donor พัฒนาการขั้นต่อไปในอนาคตมีพื้นฐานอยู่บนการผ่าตัดที่ไร้รอยแผลและการรักษาในระดับเซลล์.
DOI
10.58837/CHULA.CMJ.61.1.6
First Page
51
Last Page
71
Recommended Citation
สุวะโจ, พูนพิศมัย; พึ่งรัศมี, พรเทพ; ปัญจประทีป, รัชต์ธร; and เหตานุรักษ์, สหทัศ
(2017)
"การผ่าตัดปลูกถ่ายเส้นผม,"
Chulalongkorn Medical Journal: Vol. 61:
Iss.
1, Article 6.
DOI: https://doi.org/10.58837/CHULA.CMJ.61.1.6
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/clmjournal/vol61/iss1/6