Abstract
เหตุผลของการทำวิจัย : บาดแผลทางใจมีผลกระทบต่อสุขภาพจิตเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะบาดแผลทางใจที่เกิดจากเหตุการณ์รบกวนใจ ที่สามารถเกิดขึ้นได้บ่อยในชีวิตประจำวัน การสร้างเครื่องมือสนใจศึกษาดังกล่าวขึ้นเพื่อใช้สำรวจทำความเข้าใจเกี่ยวกับเหตุการณ์รบกวนใจในนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา จะสามารถนำผลการวิจัยไปใช้เป็นแนวทางในการป้องกันแก้ไข ปัญหาที่เกิดจากเหตุการณ์รบกวนใจวัตถุประสงค์ : เพื่อสร้างเครื่องมือที่สามารถแบ่งนักเรียนที่มีประสบการณ์การเผชิญเหตุการณ์รบกวนใจเป็นกลุ่มที่มีประสบการณ์มาก ปานกลาง น้อยและเพื่อศึกษาเหตุการณ์รบกวนใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตัวอย่างและวิธีการศึกษา : กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัยในครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาเพศหญิง จำนวน 660 คน ซึ่งได้จากการคำนวณขนาดของกลุ่มตัวอย่างตามจำนวนของข้อคำถามที่ใช้วิเคราะห์องค์ประกอบ (Factor analysis)โดยใช้เครื่องมือแบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามประสบการณ์การเผชิญเหตุการณ์รบกวนใจ และวิเคราะห์คุณภาพเครื่องมือ โดยใช้ค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา ค่าความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้าง ค่าความเชื่อมั่น ค่าอำนาจจำแนก และวิเคราะห์ค่าตำแหน่ง percentile เพื่อกำหนดจุดตัดค่าคะแนนผลการศึกษา : พบว่านักเรียนส่วนใหญ่มีประสบการณ์การเผชิญเหตุการณ์รบกวนใจในระดับน้อย ( = 105.46) โดยปัจจัยที่สัมพันธ์กับระดับประสบการณ์การเผชิญเหตุการณ์รบกวนใจมีเพียงเพศ กับสถานภาพครอบครัว(Chi-square; P = 0.006 และ 0.019) ในส่วนของคุณภาพเครื่องมือพบว่าแบบสอบถามมีค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา ค่าความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้าง ค่าความเชื่อมั่น (Cronbach’s Alpha = 0.936) ค่าอำนาจจำแนกอยู่ในเกณฑ์ดีสรุป : นักเรียนส่วนใหญ่มีประสบการณ์การเผชิญเหตุการณ์รบกวนใจในระดับน้อยโดยปัจจัยที่สัมพันธ์กับระดับประสบการณ์การเผชิญเหตุการณ์รบกวนใจ มีเพียงเพศกับสถานภาพครอบครัว ส่วนของคุณภาพเครื่องมือพบว่าแบบสอบถามมีคุณภาพอยู่ในเกณฑ์ดี.
DOI
10.58837/CHULA.CMJ.61.1.11
First Page
129
Last Page
142
Recommended Citation
เชื้อต่าย, นวพรรษ and จันทร์ศิริ, ปริชวัน
(2017)
"การพัฒนาเครื่องมือวัดประสบการณ์การเผชิญเหตุการณ์รบกวนใจสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา,"
Chulalongkorn Medical Journal: Vol. 61:
Iss.
1, Article 11.
DOI: https://doi.org/10.58837/CHULA.CMJ.61.1.11
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/clmjournal/vol61/iss1/11