•  
  •  
 
Chulalongkorn Medical Journal

Abstract

เหตุผลของการทำวิจัย : ความเครียดจากการทำงานเป็นอาการที่เกิดจากความไม่สมดุลในการตอบสนองของทางร่างกายและจิตใจเมื่อเจอกับความเครียดลักษณะการปฏิบัติงานโดยเฉพาะงานพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลเอกชนที่ต้องให้การบริการที่มีคุณภาพมากที่สุดแก่ผู้รับบริการวัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาความเครียดจากการทำงาน ลักษณะบุคลิกภาพ และปัจจัยอื่น ๆ ที่มีความเกี่ยวข้องกับความเครียดจากการทำงานของพยาบาลวิชาชีพระดับปฏิบัติการในโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่งรูปแบบการวิจัย : การศึกษาวิจัยเชิงพรรณนา ณ. จุดเวลาใดเวลาหนึ่งสถานที่ทำการศึกษา : โรงพยาบาลสมิติเวช สุขุมวิทตัวอย่างและวิธีการศึกษา : เก็บรวบรวมข้อมูลจากพยาบาลวิชาชีพระดับปฏิบัติการในโรงพยาบาลสมิติเวช สุขุมวิทจำนวน 200 คน ตั้งแต่เดือน ตุลาคม ถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2558 โดยใช้แบบสอบถามแบบตอบด้วยตัวเองซึ่งมีทั้งสิ้น 3 ส่วน คือ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบสอบถามความเครียดจากการทำงาน (Thai JCQ 54 ข้อคำถาม) และแบบประเมินบุคลิกภาพ MPI วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ จำนวนร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่ามัธยฐาน และวิเคราะห์ปัจจัยที่เกี่ยวข้องด้วยสถิติ Independent t- test, One way ANOVAวิเคราะห์ความสัมพันธ์โดยใช้สถิติ Correlation และวิเคราะห์ความถดถอยพหุคูณโดยใช้สถิติ Multiple regression analysisผลการศึกษา : ความเครียดจากการทำงานของกลุ่มตัวอย่าง ด้านความอิสระในการตัดสินใจ ด้านความเครียดจากภาระงาน ด้านความเครียดจากการทำงานหนัก ด้านแรงสนับสนุนทางสังคมอยู่ในระดับปานกลางร้อยละ 78.0, 53.0, 65.0, และ 65.0 ตามลำดับ ด้านความมั่นคงในอาชีพอยู่ในระดับสูง ร้อยละ 87.0 และด้านปัจจัยเสี่ยงในการทำงานอยู่ในระดับต่ำ ร้อยละ 53.0 กลุ่มตัวอย่างมีลักษณะบุคลิกภาพมิติที่ 1 scale-E ส่วนใหญ่คือแบบแสดงออก ร้อยละ 69.6 บุคลิกภาพมิติที่ 2 scale-N ส่วนใหญ่ คือ แบบมั่นคง ร้อยละ 76.1 โดยประเภทบุคลิกภาพส่วนใหญ่คือแบบแสดงออก–มั่นคง ร้อยละ 56.5 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเครียดจากการทำงาน คือ อายุ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน ความเพียงพอของรายได้ พฤติกรรมการออกกำลังกายการดื่ม เครื่องดื่มชูกำลัง การใช้ยาบรรเทาปวด แผนกงาน ตำแหน่งงาน ชั่วโมงการทำงาน ความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน มิติบุคลิกภาพsale-E และ scale-N เมื่อวิเคราะห์ด้วยสถิติการถดถอยแบบพหุคูณ(Multiple linear regression) เป็นรายด้าน พบว่าปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดความเครียดจากการทำงานด้านความเครียดจากการทำงานหนัก ได้แก่ การทำงานในแผนกผู้ป่วยวิกฤติ (ICU)(P <0.001) และการทำงานในแผนกอายุรกรรม (P = 0.017) ด้านความเครียดจากภาระงาน ได้แก่ การทำงานในแผนกอายุรกรรม(P <0.001) และการทำงานในแผนกผู้ป่วยวิกฤติ (ICU) (P <0.001)ด้านปัจจัยเสี่ยงในการทำงาน ได้แก่ มิติบุคลิกภาพแบบ scale-N(P <0.001) และการทำงานในแผนกห้องผ่าตัด/ห้องคลอด/หน่วยทารกแรกเกิด (P = 0.015) ด้านความอิสระในการตัดสินใจ ได้แก่การทำงานในแผนกผู้ป่วยวิกฤติ (ICU) (P <0.001) และมิติบุคลิกภาพแบบ scale-N (P = 0.020) และด้านแรงสนับสนุนทางสังคม ได้แก่บุคลิกภาพแบบ scale-N (P = 0.023)สรุป : ในการศึกษาครั้งนี้พบว่าระดับความเครียดจากการทำงานของพยาบาลวิชาชีพระดับปฏิบัติการอยู่ในระดับปานกลาง อย่างไรก็ตามหน่วยงานด้านอาชีวอนามัยควรให้ความตระหนักถึงการให้บริการให้คำปรึกษาทางสุขภาพจิต เพื่อให้พนักงานสามารถจัดการกับความเครียดจากการ ทำงานของพนักงานในองค์กร เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความเครียดในระดับสูง ซึ่งอาจก่อให้เกิดผลเสียต่อภาวะสุขภาพด้านร่างกายและจิตใจ รวมทั้งเกิดผลเสียต่อประสิทธิภาพการทำงานของพยาบาลวิชาชีพ.

DOI

10.58837/CHULA.CMJ.60.6.7

First Page

667

Last Page

687

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.