•  
  •  
 
Chulalongkorn Medical Journal

Abstract

เหตุผลของการทำวิจัย : ผู้ว่างงานย่อมเผชิญกับสภาวะความเครียด ซึ่งเป็นผลมาจากการขาดรายได้หลักที่เคยได้รับอย่างต่อเนื่องทุก ๆ เดือน รวมถึงภาระค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่ผู้ว่างงานต้องรับภาระและความกดดันจากสังคมรอบข้าง และจากการทบทวนวรรณกรรมที่ผ่านมา ผู้วิจัยพบว่ามีการศึกษาเกี่ยวกับความเครียดและพฤติกรรมการจัดการความเครียดของผู้ประกันตนกรณีว่างงานค่อนข้างน้อยวัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาระดับและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความเครียด และพฤติกรรมการจัดการความเครียดของผู้ประกันตนกรณีว่างงานของสำนักงานประกันสังคมในกรุงเทพมหานครรูปแบบการวิจัย : การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาศึกษา ณ เวลาใดเวลาหนึ่งสถานที่ทำการศึกษา : สำนักงานจัดหางานในกรุงเทพมหานครจำนวน 3 แห่งตัวอย่างและวิธีการศึกษา : ศึกษาจากผู้ประกันตนที่มาขอรับสิทธิประโยชน์กรณีว่างงานของสำนักงานประกันสังคมในกรุงเทพมหานคร จำนวน 225 คนโดยใช้แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลทั่วไป แบบประเมินและวิเคราะห์ความเครียดด้วยตนเอง และแบบสอบถามพฤติกรรมการจัดการความเครียดวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนาสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ t-test,One-way ANOVA และทำนายปัจจัยโดยใช้ stepwise multipleregression analysisผลการศึกษา : พบว่าประมาณร้อยละ 57 ของผู้ประกันตนกรณีว่างงานมีระดับความเครียดอยู่ในเกณฑ์ปกติ ร้อยละ 23 มีความเครียดต่ำกว่าเกณฑ์ปกติ ร้อยละ 15 มีความเครียดสูงกว่าปกติเล็กน้อยและร้อยละ 3.1มีความเครียดสูงกว่าปกติมาก ซึ่งพบว่าเพศหญิงมีระดับความเครียดสูงกว่าเพศชายอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติ ในส่วนของพฤติกรรมการจัดการความเครียดพบว่าผู้ประกันตนกรณีว่างงาน ส่วนใหญ่มีพฤติกรรมการจัดการความเครียดระดับปานกลาง (ร้อยละ 85.8)ส่วนปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการจัดการความเครียด ได้แก่ เพศอายุ ระดับการศึกษา รายได้ก่อนว่างงาน และการสูบบุหรี่ โดยกลุ่มตัวอย่างที่เป็นเพศหญิง, ผู้ที่มีอายุน้อย, ผู้ที่มีระดับการศึกษาปริญญาตรี, ผู้ที่มีรายได้ก่อนว่างงานสูงกว่า 25,000 บาท และผู้ที่ไม่สูบบุหรี่มีพฤติกรรมการจัดการความ เครียดที่ดีกว่า อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มอื่น ๆ ในปัจจัยเดียวกันสรุปผลการวิจัย : ผู้ประกันตนกรณีว่างงานส่วนใหญ่ มีระดับความเครียดอยู่ในเกณฑ์ปกติ และมีพฤติกรรมการจัดการความเครียดระดับปานกลางเนื่องจากกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ประกันตนที่มาขอรับสิทธิประโยชน์กรณีว่างงานที่สำนักจัดหางาน ซึ่งยังว่างงานมาไม่นานนัก (อยู่ในระหว่าง1 เดือนถึง 6 เดือน) และยังมีรายได้จากสิทธิประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานหรือเลิกจ้าง ส่วนปัจจัยทำนายพฤติกรรมการจัดการความเครียดได้แก่ รายได้ก่อนว่างงานอายุและเพศ.

Publisher

Faculty of Medicine, Chulalongkorn University

First Page

655

Last Page

666

Share

COinS