•  
  •  
 
Chulalongkorn Medical Journal

Abstract

เหตุผลของการทำวิจัย : ผู้ว่างงานย่อมเผชิญกับสภาวะความเครียด ซึ่งเป็นผลมาจากการขาดรายได้หลักที่เคยได้รับอย่างต่อเนื่องทุก ๆ เดือน รวมถึงภาระค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่ผู้ว่างงานต้องรับภาระและความกดดันจากสังคมรอบข้าง และจากการทบทวนวรรณกรรมที่ผ่านมา ผู้วิจัยพบว่ามีการศึกษาเกี่ยวกับความเครียดและพฤติกรรมการจัดการความเครียดของผู้ประกันตนกรณีว่างงานค่อนข้างน้อยวัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาระดับและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความเครียด และพฤติกรรมการจัดการความเครียดของผู้ประกันตนกรณีว่างงานของสำนักงานประกันสังคมในกรุงเทพมหานครรูปแบบการวิจัย : การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาศึกษา ณ เวลาใดเวลาหนึ่งสถานที่ทำการศึกษา : สำนักงานจัดหางานในกรุงเทพมหานครจำนวน 3 แห่งตัวอย่างและวิธีการศึกษา : ศึกษาจากผู้ประกันตนที่มาขอรับสิทธิประโยชน์กรณีว่างงานของสำนักงานประกันสังคมในกรุงเทพมหานคร จำนวน 225 คนโดยใช้แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลทั่วไป แบบประเมินและวิเคราะห์ความเครียดด้วยตนเอง และแบบสอบถามพฤติกรรมการจัดการความเครียดวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนาสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ t-test,One-way ANOVA และทำนายปัจจัยโดยใช้ stepwise multipleregression analysisผลการศึกษา : พบว่าประมาณร้อยละ 57 ของผู้ประกันตนกรณีว่างงานมีระดับความเครียดอยู่ในเกณฑ์ปกติ ร้อยละ 23 มีความเครียดต่ำกว่าเกณฑ์ปกติ ร้อยละ 15 มีความเครียดสูงกว่าปกติเล็กน้อยและร้อยละ 3.1มีความเครียดสูงกว่าปกติมาก ซึ่งพบว่าเพศหญิงมีระดับความเครียดสูงกว่าเพศชายอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติ ในส่วนของพฤติกรรมการจัดการความเครียดพบว่าผู้ประกันตนกรณีว่างงาน ส่วนใหญ่มีพฤติกรรมการจัดการความเครียดระดับปานกลาง (ร้อยละ 85.8)ส่วนปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการจัดการความเครียด ได้แก่ เพศอายุ ระดับการศึกษา รายได้ก่อนว่างงาน และการสูบบุหรี่ โดยกลุ่มตัวอย่างที่เป็นเพศหญิง, ผู้ที่มีอายุน้อย, ผู้ที่มีระดับการศึกษาปริญญาตรี, ผู้ที่มีรายได้ก่อนว่างงานสูงกว่า 25,000 บาท และผู้ที่ไม่สูบบุหรี่มีพฤติกรรมการจัดการความ เครียดที่ดีกว่า อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มอื่น ๆ ในปัจจัยเดียวกันสรุปผลการวิจัย : ผู้ประกันตนกรณีว่างงานส่วนใหญ่ มีระดับความเครียดอยู่ในเกณฑ์ปกติ และมีพฤติกรรมการจัดการความเครียดระดับปานกลางเนื่องจากกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ประกันตนที่มาขอรับสิทธิประโยชน์กรณีว่างงานที่สำนักจัดหางาน ซึ่งยังว่างงานมาไม่นานนัก (อยู่ในระหว่าง1 เดือนถึง 6 เดือน) และยังมีรายได้จากสิทธิประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานหรือเลิกจ้าง ส่วนปัจจัยทำนายพฤติกรรมการจัดการความเครียดได้แก่ รายได้ก่อนว่างงานอายุและเพศ.

DOI

10.58837/CHULA.CMJ.60.6.6

First Page

655

Last Page

666

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.