•  
  •  
 
Chulalongkorn Medical Journal

Abstract

เหตุผลของการทำวิจัย : ที่ผ่านมามีการศึกษาภาวะซึมเศร้าและพฤติกรรมรุนแรงของผู้ป่วยจิตเภทเป็นจำนวนมาก แต่ยังไม่พบการศึกษาในกลุ่มผู้ป่วยจิตเภทที่มีคดีในประเทศไทย อีกทั้งยังไม่พบการศึกษาที่เชื่อมโยงกันระหว่างภาวะซึมเศร้าและพฤติกรรมรุนแรงวัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาหาความชุก ความสัมพันธ์ และปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะซึมเศร้าและพฤติกรรมรุนแรง และศึกษาความแตกต่างของภาวะซึมเศร้าและพฤติกรรมรุนแรงของผู้ป่วยโรคจิตเภททั่วไปและผู้ป่วยโรคจิตเภทที่มีคดี ที่เข้ามารับการรักษาในสถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์รูปแบบการวิจัย : การศึกษาวิจัยเชิงพรรณนา ณ ช่วงเวลาใดช่วงเวลาหนึ่งสถานที่ทำการศึกษา : สถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์ตัวอย่างและวิธีการศึกษา : เก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ป่วยโรคจิตเภทที่เข้ามารับการรักษาในสถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์ จำนวน 140 คน โดยใช้แบบคัดลอกข้อมูลจากแฟ้มประวัติผู้ป่วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลแบบสอบถามความรู้สึกหลากหลายมิติเกี่ยวกับความช่วยเหลือทางสังคม (ฉบับปรับปรุงภาษาไทย) แบบประเมินอาการซึมเศร้าในผู้ป่วยจิตเภท และแบบประเมินพฤติกรรมรุนแรง สถิติที่ใช้ ได้แก่Descriptive Statistic, Chi – Square Test และ Logistic RegressionAnalysisผลการศึกษา : ผู้ป่วยโรคจิตเภทมีภาวะซึมเศร้า (46.4%) และมีพฤติกรรมรุนแรง(32.9%) ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะซึมเศร้าและพฤติกรรมรุนแรงอยู่ในระดับต่ำ มีค่า Phi เท่ากับ 0.11 และมีสัดส่วนของการมีภาวะซึมเศร้าและพฤติกรรมรุนแรงในผู้ป่วยโรคจิตเภทที่มีคดีความสูงกว่ากลุ่มผู้ป่วยจิตเภททั่วไป เป็น 1.9 (OR = 1.9, X2 = 2.76,P-value = 0.097) และ 1.3 เท่า (OR = 1.3, X2 = 0.55, P-value =0.459) แต่ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ซึ่งการมีอาการข้างเคียงของยา(OR = 3.45, P-value = 0.002) สัมพันธภาพในครอบครัว (OR = 1.68,P-value = 0.027) และการสนับสนุนทางสังคม (OR = 0.51,P-value = 0.007) สามารถทำนายการเกิดภาวะซึมเศร้าได้ และปัจจัยที่ทำนายการเกิดพฤติกรรมรุนแรง ได้แก่ การดื่มสุรา (OR = 0.90,P-value < 0.001) และประวัติการฆ่าตัวตาย (OR = 0.72,P-value = 0.014)สรุป : ผู้ป่วยโรคจิตเภทมีภาวะซึมเศร้า ร้อยละ 46.4 และมีพฤติกรรมรุนแรงร้อยละ 32.9 โดยปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้า ได้แก่ อาการข้างเคียงของยา สัมพันธภาพในครอบครัว และการสนับสนุนทางสังคมและปัจจัยที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมรุนแรง ได้แก่ การดื่มสุรา และประวัติการฆ่าตัวตาย สำหรับการมีคดีถึงแม้เพิ่มโอกาสการมีภาวะซึมเศร้าและพฤติกรรมรุนแรง แต่ก็ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ.

DOI

10.58837/CHULA.CMJ.60.6.5

First Page

641

Last Page

653

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.