•  
  •  
 
Chulalongkorn Medical Journal

Abstract

เหตุผลของการทำวิจัย : มีการศึกษามากมายที่พบว่าภาวะแทรกซ้อนทางสูติศาสตร์ของหญิงตั้งครรภ์มีผลกระทบต่อภาวะซึมเศร้าหลังคลอดอย่างไรก็ตามการศึกษาภาวะซึมเศร้าหลังคลอดในมารดาที่มีภาวะแทรกซ้อนทางสูติศาสตร์ในประเทศไทยยังไม่ได้มีการศึกษาวัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาความชุก ตลอดจนปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะซึมเศร้าหลังคลอดในมารดาที่มีภาวะแทรกซ้อนทางสูติศาสตร์ ที่เข้ารับบริการในแผนกหลังคลอด โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์รูปแบบการวิจัย : การศึกษาวิจัยเชิงพรรณนา ณ เวลาใดเวลาหนึ่งสถานที่ทำการศึกษา : โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ตัวอย่างและวิธีการศึกษา : เก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ป่วยที่มารับบริการที่แผนกหลังคลอด จำนวน116 คน ในช่วง 1 สัปดาห์หลังคลอด และ 4 - 6 สัปดาห์หลังคลอดโดยใช้แบบสอบถามแบบตอบด้วยตนเอง ประกอบด้วย 1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลทั่วไป 2) ข้อมูลเกี่ยวกับการตั้งครรภ์และการคลอด3) แบบวัดภาวะซึมเศร้า Edinburgh Postnatal Depression Scale(EPDS) 4) แบบสอบถามแรงสนับสนุนทางสังคม Personal ResourceQuestionnaire (PRQ-part II) 5) แบบประเมินสัมพันธภาพระหว่างคู่สมรส Dyadic Adjustment scale (DAS) 6) แบบสอบถามข้อมูลหลังคลอด โดยใช้ Univariate Analysis ได้แก่ t-Test, Chi-squareเพื่อหาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะซึมเศร้าหลังคลอดในมารดาที่มีภาวะแทรกซ้อนทางสูติศาสตร์ผลการศึกษา : มารดาหลังคลอดในช่วง 1 สัปดาห์หลังคลอด มีภาวะซึมเศร้าร้อยละ13.7 โดยมีปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าหลังคลอด ได้แก่ เวลาเฉลี่ยที่ทารกเข้านอน, ค่าดัชนีมวลกายของมารดาก่อนตั้งครรภ์,ค่าดัชนีมวลกายของมารดาในปัจจุบัน, สัมพันธภาพระหว่างคู่สมรสที่ไม่ดี และการได้รับการสนับสนุนทางสังคมที่น้อย ส่วนมารดาหลังคลอดในช่วง 4 - 6 สัปดาห์หลังคลอด มีภาวะซึมเศร้าร้อยละ 6.1โดยมีปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าหลังคลอด ได้แก่ ระดับการศึกษา, รายได้, การมีประจำเดือนล่าช้า, การมีระยะเวลาในการคลอดที่ยาวนาน, การตื่นเป็นเวลานานในช่วงกลางคืนของทารก, สัมพันธภาพระหว่างคู่สมรสที่ไม่ดี และการได้รับการสนับสนุนจากสังคมน้อยสรุป : ความชุกของภาวะซึมเศร้าหลังคลอดลดลงตามระยะเวลาหลังคลอดที่1 และ 4 - 6 สัปดาห์ โดยความชุกของภาวะซึมเศร้าในการศึกษานี้มีความใกล้เคียงกับการศึกษาอื่น ๆ และมีปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าหลังคลอดหลายปัจจัย การทราบปัจจัยที่เกี่ยวข้องจะช่วยให้บุคลากรทางการแพทย์สามารถวางแผนการดูแล และให้ความช่วยเหลือได้อย่างเหมาะสมต่อไป.

Publisher

Faculty of Medicine, Chulalongkorn University

First Page

561

Last Page

574

Share

COinS