•  
  •  
 
Chulalongkorn Medical Journal

Abstract

เหตุผลของการทำวิจัย : มีการศึกษามากมายที่พบว่าภาวะแทรกซ้อนทางสูติศาสตร์ของหญิงตั้งครรภ์มีผลกระทบต่อภาวะซึมเศร้าหลังคลอดอย่างไรก็ตามการศึกษาภาวะซึมเศร้าหลังคลอดในมารดาที่มีภาวะแทรกซ้อนทางสูติศาสตร์ในประเทศไทยยังไม่ได้มีการศึกษาวัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาความชุก ตลอดจนปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะซึมเศร้าหลังคลอดในมารดาที่มีภาวะแทรกซ้อนทางสูติศาสตร์ ที่เข้ารับบริการในแผนกหลังคลอด โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์รูปแบบการวิจัย : การศึกษาวิจัยเชิงพรรณนา ณ เวลาใดเวลาหนึ่งสถานที่ทำการศึกษา : โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ตัวอย่างและวิธีการศึกษา : เก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ป่วยที่มารับบริการที่แผนกหลังคลอด จำนวน116 คน ในช่วง 1 สัปดาห์หลังคลอด และ 4 - 6 สัปดาห์หลังคลอดโดยใช้แบบสอบถามแบบตอบด้วยตนเอง ประกอบด้วย 1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลทั่วไป 2) ข้อมูลเกี่ยวกับการตั้งครรภ์และการคลอด3) แบบวัดภาวะซึมเศร้า Edinburgh Postnatal Depression Scale(EPDS) 4) แบบสอบถามแรงสนับสนุนทางสังคม Personal ResourceQuestionnaire (PRQ-part II) 5) แบบประเมินสัมพันธภาพระหว่างคู่สมรส Dyadic Adjustment scale (DAS) 6) แบบสอบถามข้อมูลหลังคลอด โดยใช้ Univariate Analysis ได้แก่ t-Test, Chi-squareเพื่อหาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะซึมเศร้าหลังคลอดในมารดาที่มีภาวะแทรกซ้อนทางสูติศาสตร์ผลการศึกษา : มารดาหลังคลอดในช่วง 1 สัปดาห์หลังคลอด มีภาวะซึมเศร้าร้อยละ13.7 โดยมีปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าหลังคลอด ได้แก่ เวลาเฉลี่ยที่ทารกเข้านอน, ค่าดัชนีมวลกายของมารดาก่อนตั้งครรภ์,ค่าดัชนีมวลกายของมารดาในปัจจุบัน, สัมพันธภาพระหว่างคู่สมรสที่ไม่ดี และการได้รับการสนับสนุนทางสังคมที่น้อย ส่วนมารดาหลังคลอดในช่วง 4 - 6 สัปดาห์หลังคลอด มีภาวะซึมเศร้าร้อยละ 6.1โดยมีปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าหลังคลอด ได้แก่ ระดับการศึกษา, รายได้, การมีประจำเดือนล่าช้า, การมีระยะเวลาในการคลอดที่ยาวนาน, การตื่นเป็นเวลานานในช่วงกลางคืนของทารก, สัมพันธภาพระหว่างคู่สมรสที่ไม่ดี และการได้รับการสนับสนุนจากสังคมน้อยสรุป : ความชุกของภาวะซึมเศร้าหลังคลอดลดลงตามระยะเวลาหลังคลอดที่1 และ 4 - 6 สัปดาห์ โดยความชุกของภาวะซึมเศร้าในการศึกษานี้มีความใกล้เคียงกับการศึกษาอื่น ๆ และมีปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าหลังคลอดหลายปัจจัย การทราบปัจจัยที่เกี่ยวข้องจะช่วยให้บุคลากรทางการแพทย์สามารถวางแผนการดูแล และให้ความช่วยเหลือได้อย่างเหมาะสมต่อไป.

DOI

10.58837/CHULA.CMJ.60.5.9

First Page

561

Last Page

574

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.