•  
  •  
 
Chulalongkorn Medical Journal

Abstract

เหตุผลของการทำวิจัย : ความเหนื่อยหน่ายในการทำงานจะเกิดขึ้นกับการประกอบอาชีพที่มีความเครียด ส่งผลให้พนักงานหมดกำลัง และขาดแรงจูงใจในการปฏิบัติงานวัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาระดับภาวะเหนื่อยหน่ายในการทำงาน ระดับกลวิธีในการเผชิญปัญหา และปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะเหนื่อยหน่ายในการทำงานของพนักงานองค์การเภสัชกรรมรูปแบบการวิจัย : การศึกษาวิจัยเชิงพรรณนา ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่งสถานที่ทำการศึกษา : องค์การเภสัชกรรม กรุงเทพมหานครตัวอย่างและวิธีการศึกษา : เก็บรวบรวมข้อมูลจากพนักงานองค์การเภสัชกรรมตั้งแต่เดือนสิงหาคม ถึง เดือนตุลาคม พ.ศ. 2558 กลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 360 คนทำการตอบแบบสอบถาม 4 ส่วน ดังนี้ 1) แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป2) แบบสอบถามปัจจัยลักษณะสภาพแวดล้อมในการทำงาน 3) แบบวัดความเหนื่อยหน่ายในการทำงาน 4) แบบวัดการเผชิญปัญหาสถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบIndependent t-test One way ANOVA และ Multiple LinearRegressionผลการศึกษา : ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีภาวะเหนื่อยหน่ายในการทำงานใน3 มิติ ได้แก่ด้านความอ่อนล้าทางอารมณ์อยู่ในระดับต่ำ (ค่าเฉลี่ย = 2.70ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 1.43) การลดค่าความเป็นบุคคลในผู้อื่นอยู่ในระดับต่ำ (ค่าเฉลี่ย = 2.48 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 1.06) และด้านความรู้สึกไร้ประสิทธิภาพ อยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย = 3.48ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 0.50) เมื่อวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ พบว่าปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะเหนื่อยหน่ายในการทำงาน ด้านความอ่อนล้าทางอารมณ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ เพศ อายุ ปัจจัยลักษณะสภาพแวดล้อมในการทำงานด้านลักษณะงานที่รับผิดชอบปัจจัยลักษณะสภาพแวดล้อมในการทำงานด้านสัมพันธภาพในหน่วยงาน ตำแหน่งงาน ลักษณะงานที่ปฏิบัติ และกลวิธีในการเผชิญปัญหาแบบหลีกหนี ส่วนปัจจัยลักษณะแวดล้อมในการทำงานด้านสัมพันธภาพในหน่วยงาน, ลักษณะงานที่รับผิดชอบ ตำแหน่งงานและกลวิธีในการเผชิญปัญหาแบบหลีกหนีเกี่ยวข้องกับด้านการลดค่าความเป็นบุคคลในผู้อื่นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ นอกจากนี้ ตำแหน่งงานมีความสัมพันธ์กับความรู้สึกไร้ประสิทธิภาพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติสรุป : ผลการศึกษานี้เป็นประโยชน์ต่อแผนกทรัพยากรบุคคล ช่วยสร้างมาตรการพัฒนาวิธีการรับมือกับภาวะเหนื่อยหน่ายในการทำงาน และส่งเสริมการใช้กลวิธีการเผชิญปัญหาเชิงบวก เพื่อป้องกันให้พนักงานมีคุณภาพชีวิตที่ดีในการทำงาน.

DOI

10.58837/CHULA.CMJ.60.5.8

First Page

545

Last Page

560

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.