Abstract
เหตุผลของการทำวิจัย : ความเหนื่อยหน่ายในการทำงานจะเกิดขึ้นกับการประกอบอาชีพที่มีความเครียด ส่งผลให้พนักงานหมดกำลัง และขาดแรงจูงใจในการปฏิบัติงานวัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาระดับภาวะเหนื่อยหน่ายในการทำงาน ระดับกลวิธีในการเผชิญปัญหา และปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะเหนื่อยหน่ายในการทำงานของพนักงานองค์การเภสัชกรรมรูปแบบการวิจัย : การศึกษาวิจัยเชิงพรรณนา ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่งสถานที่ทำการศึกษา : องค์การเภสัชกรรม กรุงเทพมหานครตัวอย่างและวิธีการศึกษา : เก็บรวบรวมข้อมูลจากพนักงานองค์การเภสัชกรรมตั้งแต่เดือนสิงหาคม ถึง เดือนตุลาคม พ.ศ. 2558 กลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 360 คนทำการตอบแบบสอบถาม 4 ส่วน ดังนี้ 1) แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป2) แบบสอบถามปัจจัยลักษณะสภาพแวดล้อมในการทำงาน 3) แบบวัดความเหนื่อยหน่ายในการทำงาน 4) แบบวัดการเผชิญปัญหาสถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบIndependent t-test One way ANOVA และ Multiple LinearRegressionผลการศึกษา : ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีภาวะเหนื่อยหน่ายในการทำงานใน3 มิติ ได้แก่ด้านความอ่อนล้าทางอารมณ์อยู่ในระดับต่ำ (ค่าเฉลี่ย = 2.70ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 1.43) การลดค่าความเป็นบุคคลในผู้อื่นอยู่ในระดับต่ำ (ค่าเฉลี่ย = 2.48 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 1.06) และด้านความรู้สึกไร้ประสิทธิภาพ อยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย = 3.48ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 0.50) เมื่อวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ พบว่าปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะเหนื่อยหน่ายในการทำงาน ด้านความอ่อนล้าทางอารมณ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ เพศ อายุ ปัจจัยลักษณะสภาพแวดล้อมในการทำงานด้านลักษณะงานที่รับผิดชอบปัจจัยลักษณะสภาพแวดล้อมในการทำงานด้านสัมพันธภาพในหน่วยงาน ตำแหน่งงาน ลักษณะงานที่ปฏิบัติ และกลวิธีในการเผชิญปัญหาแบบหลีกหนี ส่วนปัจจัยลักษณะแวดล้อมในการทำงานด้านสัมพันธภาพในหน่วยงาน, ลักษณะงานที่รับผิดชอบ ตำแหน่งงานและกลวิธีในการเผชิญปัญหาแบบหลีกหนีเกี่ยวข้องกับด้านการลดค่าความเป็นบุคคลในผู้อื่นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ นอกจากนี้ ตำแหน่งงานมีความสัมพันธ์กับความรู้สึกไร้ประสิทธิภาพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติสรุป : ผลการศึกษานี้เป็นประโยชน์ต่อแผนกทรัพยากรบุคคล ช่วยสร้างมาตรการพัฒนาวิธีการรับมือกับภาวะเหนื่อยหน่ายในการทำงาน และส่งเสริมการใช้กลวิธีการเผชิญปัญหาเชิงบวก เพื่อป้องกันให้พนักงานมีคุณภาพชีวิตที่ดีในการทำงาน.
DOI
10.58837/CHULA.CMJ.60.5.8
First Page
545
Last Page
560
Recommended Citation
นิลสงวนเดชะ, สสิพรรธน์ and บัวทอง, ณภัควรรต
(2016)
"ภาวะเหนื่อยหน่ายในการทำงานและกลวิธีในการเผชิญปัญหาของพนักงานองค์การเภสัชกรรม,"
Chulalongkorn Medical Journal: Vol. 60:
Iss.
5, Article 8.
DOI: https://doi.org/10.58837/CHULA.CMJ.60.5.8
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/clmjournal/vol60/iss5/8