Abstract
เหตุผลของการทำวิจัย : โรคสมาธิสั้นเป็นโรคทางจิตเวชเด็กที่มีความชุกประมาณร้อยละ 5ความรู้สึกภาคภูมิใจในตนเอง มีความสำคัญต่อการประสบความสำเร็จของเด็ก จากการศึกษาพบว่าเด็กสมาธิสั้นมีความรู้สึกภาคภูมิใจในตนเองต่ำกว่าเด็กปกติทั่วไป ซึ่งมีหลายปัจจัยที่มีความเกี่ยวข้องกับความรู้สึกภาคภูมิใจในตนเองของเด็กสมาธิสั้นวัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความเกี่ยวข้องกับความรู้สึกภาคภูมิใจในตนเองของเด็กสมาธิสั้น ที่มารับการตรวจรักษาที่แผนกผู้ป่วยนอก หน่วยจิตเวชเด็กและวัยรุ่น โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์รูปแบบการวิจัย : การวิจัยเชิงพรรณนา ณ ช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งสถานที่ทำการศึกษา : แผนกผู้ป่วยนอก หน่วยจิตเวชเด็กและวัยรุ่น โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ตัวอย่างและวิธีการศึกษา : เก็บรวบรวมข้อมูลจากเด็กสมาธิสั้นที่มารับการตรวจรักษา และบิดามารดา หรือผู้ปกครองของเด็กสมาธิสั้น จำนวน 103 ชุด ตั้งแต่เดือนตุลาคม พ.ศ. 2558 ถึง เดือนมกราคม พ.ศ. 2559 โดยใช้แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป และแบบวัดความรู้สึกภาคภูมิใจในตนเองของCoopersmith S.ผลการศึกษา : 54.4% ของกลุ่มตัวอย่าง มีความรู้สึกภาคภูมิใจในตนเองปานกลางค่อนไปทางสูง (ค่าเฉลี่ย = 53.98, ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 13.30)พบว่าปัจจัยที่มีความเกี่ยวข้องกับความรู้สึกภาคภูมิใจในตนเองของกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การถูกบิดา มารดา ผู้ปกครอง หรือคุณครูทำโทษและการได้รับการรักษาด้วยยาสรุป : กลุ่มตัวอย่างมากกว่าครึ่ง มีความรู้สึกภาคภูมิใจในตนเองปานกลางค่อนไปทางสูง ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความรู้สึกภาคภูมิใจในตนเองได้แก่ การถูกทำโทษโดยผู้ปกครอง และคุณครู และการได้รับการรักษาด้วยยา ผลเสียของการทำโทษที่มีต่อความรู้สึกภาคภูมิใจในตนเองเป็นประเด็นสำคัญที่ควรเน้นในการให้ความรู้แก่ บิดา มารดาผู้ปกครอง คุณครู และประชาชนทั่วไปความสัมพันธ์ระหว่างการได้รับการรักษาด้วยยา และความรู้สึกภาคภูมิใจในตนเองของเด็กสมาธิสั้น จำเป็นต้องมีการศึกษาต่อไป.
DOI
10.58837/CHULA.CMJ.60.5.7
First Page
535
Last Page
544
Recommended Citation
เข็มจินดา, เทิมสัทธา and วัชรสินธ, อลิสา
(2016)
"ความรู้สึกภาคภูมิใจในตนเองและปัจจัยที่เกี่ยวข้องของเด็กสมาธิสั้นที่มารับการตรวจรักษาที่แผนกผู้ป่วยนอก หน่วยจิตเวชเด็กและวัยรุ่น โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์,"
Chulalongkorn Medical Journal: Vol. 60:
Iss.
5, Article 7.
DOI: https://doi.org/10.58837/CHULA.CMJ.60.5.7
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/clmjournal/vol60/iss5/7