•  
  •  
 
Chulalongkorn Medical Journal

Abstract

เหตุผลของการวิจัย : คุณภาพการดูแลถือว่าเป็นเป้าหมายหลักในการให้บริการสุขภาพโดยให้ความสำคัญต่อมุมมองการรับรู้ และประสบการณ์ของผู้ป่วยต่อคุณภาพการดูแลที่ได้รับ ซึ่งมีหลายปัจจัยที่เกี่ยวข้องได้แก่ความต้องการมีส่วนร่วมในการจัดการอาการ การรับรู้ความรุนแรงของอาการเพศ จำนวนครั้งเข้ารับการรักษาวัตถุประสงค์ : ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความต้องการมีส่วนร่วมในการจัดการอาการ การรับรู้ความรุนแรงของอาการ เพศ จำนวนครั้งเข้ารับการรักษา และการรับรู้คุณภาพการดูแลของผู้ป่วยมะเร็งระหว่างเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลรูปแบบการวิจัย : การศึกษาความสัมพันธ์เชิงพรรณนา ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่งสถานที่ทำการศึกษา : หอผู้ป่วยมะเร็งก้อนทูมวิทยาและมะเร็งโลหิตวิทยาของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ตัวอย่างและวิธีการศึกษา : ศึกษาในผู้ป่วยมะเร็งจำนวน 97 ราย ใช้วิธีเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงรวบรวมข้อมูลโดยใช้ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามความต้องการมีส่วนร่วมในการจัดการอาการ แบบประเมินอาการที่พบบ่อยในโรคมะเร็ง 10 อาการและแบบประเมินคุณภาพการดูแลในมุมมองของผู้ป่วยผลการศึกษา : กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ร้อยละ 61.9 ความต้องการมีส่วนร่วมในการจัดการอาการอยู่ในระดับ passive มากที่สุด(ร้อยละ 47.4) การรับรู้คุณภาพการดูแลของกลุ่มตัวอย่างอยู่ในระดับสูงตรงกับความต้องการมากที่สุด (ร้อยละ 43.3) ผลวิเคราะห์ความสัมพันธ์พบว่า การรับรู้ความรุนแรงของอาการและจำนวนครั้งเข้ารับการรักษา มีความสัมพันธ์กับการรับรู้คุณภาพการดูแลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (χ2 = 10.50, P =.03 ; χ2 = 6.79, P =.009 ) สำหรับเพศและความต้องการมีส่วนร่วมในการจัดการอาการไม่มีความสัมพันธ์กับการรับรู้คุณภาพการดูแลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(rpb= .92 และ χ2 = 8.32, P =.08) ตามลำดับสรุปผลการวิจัย : พยาบาลควรเน้นการดูแลจัดการเพี่อลดความรุนแรงของอาการในผู้ป่วยมะเร็งขณะเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล โดยเฉพาะกลุ่มผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาบ่อยครั้งซึ่งอาจมีการรับรู้คุณภาพการดูแลลดลง.

Publisher

Faculty of Medicine, Chulalongkorn University

First Page

523

Last Page

534

Share

COinS