•  
  •  
 
Chulalongkorn Medical Journal

Abstract

เหตุผลของการทำวิจัย : การศึกษาในระดับอุดมศึกษาจะมีการเรียนและการใช้ชีวิตที่แตกต่างจากระดับมัธยมศึกษาอย่างมาก เนื่องจากผู้เรียนจะต้องมีความรับผิดชอบที่สูงขึ้น ทั้งนี้หากนิสิตนักศึกษาเกิดความเครียดอย่างผิดปกติ ย่อมจะส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตในหลาย ๆ ด้านวัตถุประสงค์ของการวิจัย : เพื่อศึกษาระดับความเครียดและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความเครียดของนิสิตชั้นปีที่ 1 ระดับปริญญาตรี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยรูปแบบการวิจัย : การวิจัยเชิงพรรณนา ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่งสถานที่ในการวิจัย : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยทั้ง 19 คณะตัวอย่างและวิธีการศึกษา : กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นิสิตชั้นปีที่ 1 ระดับปริญญาตรีจาก 19 คณะปีการศึกษา 2558 โดยทำการสุ่มอย่างง่ายในทุกคณะ รวมจำนวนทั้งสิ้น 418 คน โดยใช้เครื่องมือแบบสอบถามเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคล, แบบสอบถามแหล่งความเครียด และแบบประเมินความเครียดสวนปรุง (ฉบับปรับปรุง) โดยเสนอค่าความเครียดเป็นค่าเฉลี่ย,ค่าสัดส่วน และร้อยละ และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างระดับความเครียดและปัจจัยที่เกี่ยวข้องโดยใช้การทดสอบไคสแควร์แล้วทำการวิเคราะห์ความถดถอยแบบลอจิสติกเพื่อหาปัจจัยทำนายความเครียดในระดับสูงถึงรุนแรงผลการศึกษา : พบว่าค่าเฉลี่ยคะแนนความเครียดโดยรวมของนิสิต ทั้งหมดเท่ากับ48.2 (SD = 27.2, Min = 0, Max = 132) โดยนิสิตส่วนใหญ่มีความเครียดอยู่ในระดับรุนแรง (ร้อยละ 32.1) ทั้งนี้ปัจจัยที่ทำนายความเครียดในระดับสูงถึงรุนแรงของกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การที่ไม่สามารถเข้าใจเนื้อหาที่เรียนได้อย่างชัดเจน (OR = 2.00, 95%C.I.= 1.26 – 3.18, P = 0.003), การที่มีเวลาพักผ่อนไม่เพียงพอ(OR=1.47, 95% C.I.= 1.48 - 3.39, P = <0.001), และการมีความขัดแย้งกับคนในครอบครัว (OR = 12.74, 95% C.I.= 1.65 –98.53, P = 0.015)สรุปผลการศึกษา : นิสิตส่วนใหญ่มีความเครียดระดับสูงถึงรุนแรง โดยปัจจัยที่ทำนายความเครียดในระดับสูงถึงรุนแรง ได้แก่ การไม่สามารถเข้าใจเนื้อหาที่เรียนได้อย่างชัดเจน การพักผ่อนไม่เพียงพอ และการมีความขัดแย้งกับคนในครอบครัว.

DOI

10.58837/CHULA.CMJ.60.4.8

First Page

455

Last Page

465

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.