•  
  •  
 
Chulalongkorn Medical Journal

Abstract

ความเป็นมา : ในการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคองนั้น ให้ความสำคัญกับความต้องการ ของผู้ป่วยเป็นอย่างมาก แต่ปัญหาคือบุคลากรทางการแพทย์มักไม่ทราบความต้องการที่แท้จริงของผู้ป่วย เนื่องจากด้วยวัฒนธรรมและความเชื่อของคนไทยไม่นิยมพูดกันเรื่องความตาย รวมถึงเรื่องสถานที่ที่ต้องการใช้ชีวิตในวาระสุดท้ายหรือเสียชีวิตทำให้มีโอกาสที่จะได้รับการรักษาที่อาจขัดกับความต้องการที่แท้จริงได้วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาเกี่ยวกับการตัดสินใจเลือกสถานที่ในการดูแลระยะสุดท้ายและสถานที่เสียชีวิตในผู้ป่วยโรคมะเร็งของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ รวมถึงปัจจัยที่เกี่ยวข้องในการตัดสินใจนั้น ๆวิธีดำเนินการศึกษา : Cross sectional descriptive study เก็บข้อมูลโดยวิธี convenient samplingในประชากรผู้ป่วยมะเร็งที่เข้ารับการรักษาในแผนกรังสีรักษาของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ระหว่างเดือนมีนาคม - มิถุนายน พ.ศ. 2555 โดยใช้แบบสอบถามเพื่อทำการสัมภาษณ์ความคิดเห็นผู้ป่วย ใช้สถิติ univariate analysis สำหรับเปรียบเทียบข้อมูลเชิงคุณภาพระหว่างกลุ่มประชากรและใช้ binary logisticregression analysis เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรกับผลการตัดสินใจผลการศึกษา : มีประชากรเข้าร่วมการศึกษาจำนวน 96 ราย สำหรับสถานที่ที่ต้องการได้รับการดูแลในระยะสุดท้ายนั้น ผู้ป่วย 57 ราย (ร้อยละ 59.4) เลือกสถานที่ส่วนตัว (เช่น บ้าน) อีก 35 ราย (ร้อยละ 36.5) เลือกสถานพยาบาล สำหรับสถานที่ที่ต้องการเสียชีวิตนั้น มีผู้ป่วยจำนวน 58 ราย (ร้อยละ 60.4) เลือกสถานที่ส่วนตัว อีก 33 ราย (ร้อยละ 34.4) เลือกสถานพยาบาล โดยทั้งสองหัวข้อมีปัจจัยที่เกี่ยวข้องในการตัดสินใจที่คล้ายกัน ได้แก่ ความต้องการยาและการรักษาพยาบาล ความเป็นส่วนตัว การได้อยู่กับคนที่เป็นที่รักกลัวการเจ็บป่วยในเวลากลางคืน ความรู้สึกปลอดภัยและควบคุมได้ และพบตัวแปรด้านข้อมูลพื้นฐานประชากรที่มีความเกี่ยวข้องกับการเลือกสถานที่เสียชีวิตได้แก่ ตัวแปรด้านที่อยู่อาศัยในปัจจุบันสรุปผล : ประชากรส่วนใหญ่ต้องการได้รับการดูแลระยะสุดท้ายและเสียชีวิตที่บ้านโดยที่อยู่อาศัยมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจ ผู้ที่อยู่ต่างจังหวัดมีแนวโน้มจะเลือกสถานพยาบาลเป็นสถานที่ดูแลระยะสุดท้ายและสถานที่เสียชีวิตน้อยกว่าผู้ที่อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ซึ่งจุดนี้อาจนำมาประยุกต์ใช้ในการวางนโยบายการให้การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายในแต่ละชุมชน เช่นการลงไปเยี่ยมผู้ป่วยที่บ้าน หรือการสร้างสถานพยาบาลแบบประคับประคอง(hospice) ซึ่งอาจแตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่ที่ให้การดูแล.

DOI

10.58837/CHULA.CMJ.60.3.8

First Page

355

Last Page

364

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.