•  
  •  
 
Chulalongkorn Medical Journal

Abstract

เหตุผลของการทำวิจัย : กลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อและพังผืด (Myofascial Pain Syndrome)เป็นกลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อที่พบได้บ่อยมากในกลุ่มประชากรวัยกลางคน หรือวัยทำงานเป็นสาเหตุหนึ่งของกลุ่มอาการปวดเรื้อรังที่พบบ่อยที่สุดปัจจัยทางด้านจิตใจ ความเครียด วิตกกังวลและความเศร้า เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่มีผลต่อการเกิดโรค การนวดไทยเป็นอีกหนึ่งแนวทางรักษาที่มีผลทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจวัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาผลของการนวดแผนไทยต่อระดับความวิตกกังวล ความซึมเศร้า และอาการปวดของผู้ป่วยกลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อ และเยื่อพังผืดที่มารับบริการนวดแผนไทย ณ คลินิกแพทย์แผนไทยประยุกต์คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์รูปแบบการวิจัย : การวิจัยแบบกึ่งทดลอง (Quasi-experimental : pre-post study inone group)สถานที่ทำการศึกษา : คลินิกแพทย์แผนไทยประยุกต์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ตัวอย่างและวิธีการศึกษา : ศึกษาในผู้ป่วยกลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อและเยื่อพังผืดที่มารับบริการนวดแผนไทย จำนวน 20 คน กลุ่มตัวอย่างจะได้รับการรักษาโดยการนวด แผนไทยติดต่อกัน 3 ครั้ง ในวันจันทร์ พุธ และศุกร์ของสัปดาห์ กลุ่มตัวอย่าง จะได้รับการประเมินระดับความวิตกกังวลความซึมเศร้า และระดับความปวด ก่อนและหลังการนวดไทย 3 ครั้งวิเคราะห์โดยใช้การทดสอบ Paired t-test และการทดสอบ WilcoxonSinged rank test เพื่อเปรียบเทียบผลการนวดแผนไทย ก่อนและหลังการรักษาผลการศึกษา : ในกลุ่มตัวอย่างที่มีอาการปวดกล้ามเนื้อและเยื่อพังผืดมีระดับคะแนนความวิตกกังวล ความซึมเศร้า และระดับความปวดลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติหลังรับการนวดแผนไทย 3 ครั้ง โดยมีคะแนนเฉลี่ยของระดับความวิตกกังวลก่อนการรักษา เป็น 10.60 และ 5.53 หลังการรักษาคะแนนเฉลี่ยระดับความซึมเศร้าก่อนรักษา เป็น 8.4 และ 4.5หลังการรักษา และคะแนนเฉลี่ยระดับความปวดก่อนการรักษา เป็น2.46 และ 1.8 หลังการรักษาสรุป : การรักษาโดยการนวดแผนไทยสามารถลดระดับความวิตกกังวลความซึมเศร้าและระดับความปวดได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p <0.01).

Publisher

Faculty of Medicine, Chulalongkorn University

First Page

313

Last Page

327

Share

COinS