•  
  •  
 
Chulalongkorn Medical Journal

Abstract

เหตุผลของการทำวิจัย : ความภาคภูมิใจในตนเอง และแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์มีส่วนเกี่ยวเนื่องในการพัฒนาวัยรุ่น ซึ่งถ้าหากวัยรุ่นกลุ่มดังกล่าวเป็นบุคคลที่มีความภาค ภูมิใจในตนเองที่ดีและมีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ที่ดี ซึ่งส่งผลให้เด็กมีคุณภาพในการใช้ชีวิตที่ดี และมีสุขภาพจิตที่ดีวัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความภาคภูมิใจในตนเอง และแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ รวมถึงศึกษาปัจจัยที่มีความเกี่ยวข้องระหว่างนักศึกษาสายอาชีพ และนักเรียนสายสามัญรูปแบบการวิจัย : การวิจัยเชิงพรรณนาภาคตัดขวาง ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่งสถานที่ทำการศึกษา : วิทยาลัยอาชีวศึกษาสันติราษฎร์ ในพระอุปถัมภ์ฯ และโรงเรียนหอวังตัวอย่างและวิธีการศึกษา : ประชากรกลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาจากระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพ หรือ ปวช. ทุกสาขาวิชาในวิทยาลัยอาชีวศึกษาสันติราษฎร์ในพระอุปถัมภ์ฯ และนักเรียนที่กำลังศึกษาระดับชั้นมัธยมตอนปลายที่โรงเรียนหอวัง ประจำปีการศึกษา 2557 ที่มีอายุระหว่าง 16 -18 ปีกลุ่มละ 60 คน รวมทั้งสิ้น 120 คน โดยวิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบง่ายประเมิน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บ ประกอบด้วย 1)แบบสอบถามเกี่ยวกับข้อมูลพื้นฐาน 2) แบบสอบถามความภาคภูมิใจในตนเอง 3) แบบสอบถามการแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ Independent t-test, One-way ANOVA และLeast SignificantDifference (LSD)ผลการศึกษา : พบว่านักเรียนสายสามัญมีระดับความภาคภูมิใจในตนเองอยู่น้อยกว่านักศึกษาสายอาชีพ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ (p <0.05)นักเรียนสายสามัญ ที่มีเพศแตกต่างกันมีระดับความภาคภูมิใจในตนเองต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ (p <0.05) นักศึกษาสายอาชีพ และนักเรียนสายสามัญส่วนใหญ่มีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์อยู่ในระดับมาก (ร้อยละ 70.00 และ 76.67 ตามลำดับ) หากใช้เกณฑ์ค่าเฉลี่ยในการแปลผล พบว่าทั้ง 2 กลุ่ม มีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์อยู่ในระดับมาก (= 58.12 และ 57.33 ตามลำดับ) นักศึกษาสายอาชีพที่มีอาชีพของผู้ปกครองแตกต่างกันมีระดับแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ (p <0.05)สรุป : ระดับความภาคภูมิใจในตนเองทั้งสองรูปแบบการศึกษานั้นต่างกันและพบว่าปัจจัยเรื่องเพศมีผลต่อระดับความภาคภูมิใจในตนเองในส่วนของแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ทั้งสองรูปแบบการศึกษาอยู่ในระดับปานกลางที่ไม่แตกต่างกัน และพบว่าปัจจัยเรื่องของอาชีพผู้ปกครองของนักศึกษาสายอาชีพมีผลต่อระดับแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ ซึ่งการทราบถึงปัจจัยและผลการศึกษาเหล่านี้จะช่วยให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนั้นเข้าใจในตัวเด็กวัยรุ่นมากขึ้น และนำมาปรับใช้ในการพัฒนาเด็กวัยรุ่นให้เป็นบุคลากรที่ดีมีคุณภาพเพื่อพัฒนาสังคมในอนาคตต่อไป.

DOI

10.58837/CHULA.CMJ.60.2.9

First Page

231

Last Page

246

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.