•  
  •  
 
Chulalongkorn Medical Journal

Abstract

เหตุผลของการทำวิจัย : จากการศึกษาก่อนหน้านี้พบว่ากลุ่มนักเรียนอาชีวศึกษาเพศหญิงนั้นมีประสบการณ์ทางเพศแล้ว ถึงร้อยละ 40.0 ซึ่งสูงกว่านักเรียนหญิงมัธยมปลายในสายสามัญอย่างชัดเจน ซึ่งการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควรนี้ นำมาซึ่งปัญหาต่าง ๆ มากมาย เช่น การติดเชื้อ HIV โรคติดต่อทางเพศ สัมพันธ์และการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ ซึ่งก่อนหน้านี้ ยังไม่มีการศึกษาใด ที่พูดถึงปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการมีเพศสัมพันธ์ในนักเรียนกลุ่มนี้ ผู้วิจัยจึงมีความสนใจที่จะศึกษาเรื่องนี้เพื่อจะนำผลการศึกษาที่ได้ไปวางแผนปรับปรุงนโยบายและแผนทางสาธารณสุขในการป้องกันปัญหาตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ในวัยรุ่นระดับประเทศในอนาคตวัตถุประสงค์ : 1. เพื่อศึกษาความชุกของการมีประสบการณ์ทางเพศของนักเรียนหญิงอาชีวศึกษาในจังหวัดนนทบุรี2. เพื่อศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการมีประสบการณ์ทางเพศครั้งแรกของนักเรียนหญิงอาชีวศึกษาในจังหวัดนนทบุรีรูปแบบการวิจัย : การศึกษาวิจัยเชิงพรรณนา ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่งสถานที่ทำการศึกษา : โรงเรียนอาชีวศึกษา 3 แห่งโรงเรียน ในจังหวัดนนทบุรีตัวอย่างและวิธีการศึกษา : กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักเรียนหญิงในระดับชั้น ปวช.1 - 3 และระดับชั้นปวส. 1 - 2 จำนวน 375 ราย จาก 3 โรงเรียนในจังหวัดนนทบุรีโดยกลุ่มตัวอย่างจะได้ตอบแบบสอบถามจำนวน 7 ชุด ได้แก่ 1)แบบสอบถามข้อมูลส่วนตัว และ ข้อมูลทางเพศ 2) แบบประเมินความรู้เรื่องเพศจำนวน 22 ข้อ 3) แบบประเมินความคิดเห็นเกี่ยวกับการคบเพื่อนต่างเพศ 4) แบบประเมินความสัมพันธ์ภายในครอบครัว 5) แบบประเมินการคล้อยตามกลุ่มเพื่อน 6) แบบประเมินพฤติกรรมเสี่ยงต่อการมีเพศสัมพันธ์และ 7) แบบประเมินการเห็นคุณค่าในตนเองRosenberg Self-esteem Scale ฉบับภาษาไทย. สถิติที่ใช้ ได้แก่สถิติเชิงพรรณนา และ Univariate analysis.ผลการศึกษา : พบว่ากลุ่มตัวอย่างมีประสบการณ์ทางเพศแล้ว ร้อยละ 66.1 โดยปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการมีประสบการณ์ทางเพศครั้งแรกที่วิเคราะห์จากUnivariate analysis อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ มี 21 ปัจจัย ได้แก่ อายุสถาบัน เกรดเฉลี่ยสะสม คะแนนความรู้เรื่องเพศ บุคคลที่พักอาศัยด้วยประวัติการดื่มแอลกอฮอล์ ผู้เลี้ยงดูหลักในช่วงวัยประถมและวัยรุ่นทัศนคติเรื่องเพศ บุคคลที่ได้พูดคุยปรึกษาเรื่องเพศ การสืบค้นข้อมูลเรื่องเพศ การคล้อยตามเพื่อน และการเคยมีประวัติหนีออกจากบ้านในช่วงวัยรุ่นและเมื่อทำการวิเคราะห์แบบ Logistic RegressionAnalysis พบว่าเหลือเพียง 8 ปัจจัยที่มีความเกี่ยวข้องกับการมีประสบการณ์ทางเพศ ได้แก่ 1) สถานศึกษา 2) บุคคลที่นักเรียนพักอาศัยด้วยในปัจจุบัน 3) ทัศนคติเรื่องเพศ 4) การพูดคุยปรึกษาเรื่องเพศกับครูผู้หญิง 5) การพูดคุยปรึกษาเรื่องเพศกับเพื่อนเพศชาย 6) คะแนนการเห็นคุณค่าในตนเอง 7) การเคยมีประวัติหนีออกจากบ้าน 8) คะแนนพฤติกรรมเสี่ยงด้านสถานที่ในระดับสูงสรุป : ความชุกของการมีประสบการณ์ทางเพศในการศึกษาครั้งนี้ สูงกว่าการศึกษาอื่น ๆ ก่อนหน้าที่ทำในนักเรียนหญิงอาชีวศึกษา การทราบปัจจัยเสี่ยงจะช่วยให้บุคลากรทางการแพทย์สามารถคัดกรองกลุ่มเสี่ยงและวางนโยบายทางสาธารณสุขที่เหมาะสมต่อไป.

DOI

10.58837/CHULA.CMJ.60.2.8

First Page

215

Last Page

230

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.