•  
  •  
 
Chulalongkorn Medical Journal

Abstract

เหตุผลของการวิจัย : ผู้ป่วยจิตเวชจะมีความผิดปกติในด้านของความรู้สึก จิตใจ อารมณ์และหากเป็นผู้ที่สูบบุหรี่เมื่อต้องเข้ารับบริการในโรงพยาบาล ซึ่งเป็นสถานที่ห้ามสูบบุหรี่ ก่อให้เกิดความอยากบุหรี่และความเครียดขึ้นทำให้ร่วมมือทางการรักษาได้น้อย จากการศึกษาที่ผ่านมาพบว่าการฝึกผ่อนคลายกล้ามเนื้อแบบโพรเกรสซีฟ สามารถช่วยลดความเครียดและความอยากบุหรี่ในบุคคลทั่วไปได้ ผู้วิจัยจึงสนใจที่จะนำวิธีการผ่อนคลายกล้ามเนื้อแบบโพรเกรสซีฟนี้มาทดลองใช้กับผู้ป่วยจิตเวช เพื่อลดความเครียดและความอยากบุหรี่ส่งผลให้เกิดประสิทธิภาพทางการรักษาผู้ป่วยได้ดียิ่งขึ้นวัตถุประสงค์ : 1) เพื่อเปรียบเทียบระดับความอยากบุหรี่ก่อนและหลังการฝึกผ่อนคลายกล้ามเนื้อแบบโพรเกรสซีฟในผู้ป่วยจิตเวช 2) เพื่อเปรียบเทียบระดับความอยากบุหรี่ระหว่างกลุ่มที่ฝึกผ่อนคลายกล้ามเนื้อกับกลุ่มควบคุมรูปแบบการวิจัย : เป็นการศึกษาวิจัยเชิงทดลอง วัดผลก่อนและหลังทดลอง โดยมีกลุ่มควบคุมแบบสุ่มสถานที่ทำการศึกษา : โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ และโรงพยาบาลรามาธิบดีตัวอย่างและวิธีการศึกษา : เก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ป่วยที่มารับบริการที่แผนกผู้ป่วยนอกจิตเวชและผู้ป่วยในจิตเวช โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์และโรงพยาบาลรามาธิบดีจำนวน 34 คน โดยใช้แบบสอบถาม 1. แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล 2. แบบสอบถามเกี่ยวกับการสูบบุหรี่ โดยใช้แบบทดสอบการติดนิโคตินของ Fagerstrom 3. แบบวัดระดับความอยากสูบบุหรี่(PACS – tobacco) ฉบับภาษาไทย 4. แบบวัดความเครียดสำหรับคนไทย Thai Stress Test (TST) 5. แบบวัดความรู้สึก Visual AnalogScale (VAS) 6. เทปเสียงการผ่อนคลายกล้ามเนื้อของกรมสุขภาพจิต7. เครื่องวัดสัญญาณชีพ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ Fisher’s exacttest เพื่อวิเคราะห์เปรียบเทียบข้อมูลส่วนบุคคลและสถิติ non –Parametric Mann – Whitney U test วิเคราะห์เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยก่อนและหลังการทดลอง การฟังเทปเสียงผ่อนคลายกล้ามเนื้อแบบโพรเกรสซีฟและการฟังเทปเสียงทั่วไป ต่อความอยากบุหรี่ ความเครียดความรู้สึก 10 ด้าน และระดับสัญญาณชีพของกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมผลการศึกษา : ภายหลังการทดลองพบว่าความอยากสูบบุหรี่ความเครียด และความรู้สึก 10 ด้าน ไม่มีความแตกต่างกัน (p >0.05) ระหว่างก่อนและหลังการทดลองของทั้งกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมสรุป : ผลการศึกษาของผู้ป่วยทั้ง 2 กลุ่ม ไม่มีความแตกต่างกัน ควรทำการศึกษาในกลุ่มตัวอย่างที่ใหญ่ขึ้นและในกลุ่มผู้ป่วยจิตเวชที่มีความจำเพาะ เช่นโรคบางโรคที่ให้ความร่วมมือได้ดีในอนาคต.

DOI

10.58837/CHULA.CMJ.60.2.7

First Page

201

Last Page

213

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.