Abstract
เหตุผลของการทำวิจัย : คู่สมรสของผู้ป่วยระยะสุดท้าย เช่น ผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย เป็นผู้ที่ประสบกับอารมณ์เศร้าโศกจากการสูญเสีย เนื่องจากต้องเผชิญกับประสบการณ์หลายอย่าง ปฏิกิริยาต่าง ๆ ของการสูญเสีย และการปรับตัวหลังจากการสูญเสียวัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาประสบการณ์จากการสูญเสีย การจัดการกับการสูญเสียและการสนับสนุนทางสังคมของคู่สมรสหลังจากการเสียชีวิตของผู้ป่วยระยะสุดท้ายรูปแบบการวิจัย : การศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพสถานที่ทำการศึกษา : โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทยตัวอย่างและวิธีการศึกษา : ศึกษาจากคู่สมรสของผู้ป่วยระยะสุดท้ายที่เสียชีวิตแล้ว ที่ส่งปรึกษาศูนย์ชีวาภิบาล โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ คัดเลือกตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง โดยเป็นคู่สมรสที่ให้การดูแลผู้ป่วยเป็นเวลามากกว่า 6 เดือนจนผู้ป่วยเสียชีวิต เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ส่วนบุคคลเชิงลึกใช้เวลา 60 - 90 นาที เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย 1) แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคลและแนวคำถามที่ใช้ในการสัมภาษณ์ระดับลึก และ 2) แบบประเมินอารมณ์เศร้าโศกที่ผิดปกติจากการสูญเสียฉบับภาษาไทย ข้อมูลอิ่มตัวอยู่ที่จำนวน 10 รายใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปรากฏการณ์วิทยาของโคไลซ์ซี่ (Colaizzi)ผลการศึกษา : คู่สมรสของผู้ป่วยระยะสุดท้าย 10 ราย เป็นเพศหญิง 7 รายและเป็นเพศชาย 3 ราย มีอายุเฉลี่ย 50.2 ปี ผู้ป่วยทุกรายเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งมีคู่สมรสที่ประสบกับอารมณ์เศร้าโศกจากการสูญเสียที่ผิดปกติจำนวน 6 ราย โดยใช้ ICG พบว่าประสบการณ์การสูญเสียของคู่สมรสในผู้ป่วยระยะสุดท้ายไม่ต่างจากปฏิกิริยาการสูญเสียของบุคคลใกล้ชิดทั่ว ๆ ไป ซึ่งประกอบ ด้วย1)ระยะมึนชา 2) ระยะซึมเศร้า และ3) ระยะกลับคืนสู่ปกติ ผู้ที่ประสบกับอารมณ์เศร้าโศกจากการสูญเสียที่ผิดปกติ เป็นผู้ที่มีความรักความผูกพันกันมาก พึ่งพิงกับผู้ที่เสียชีวิตอย่างสูง ปิดบัง ไม่กล้าบอกความจริง การสูญเสียเกิดขึ้นโดยฉับพลันกะทันหัน ไม่ทันคาดคิด หรือไม่ทันได้เตรียมความพร้อมที่ดี คู่สมรสที่ผ่านพ้นอารมณ์เศร้าโศกจากการสูญเสียไปได้ เป็นผู้ที่มีการจัดการกับการสูญเสียที่ดี และมีการสนับสนุนทางสังคมที่ดสรุป : การช่วยเหลือคู่สมรสของผู้ป่วยระยะสุดท้ายให้จัดการกับการสูญเสียต้องเริ่มตั้งแต่ก่อนการเสียชีวิตและหลังการเสียชีวิตของผู้ป่วยการเตรียมความพร้อมให้คู่สมรสเผชิญกับการสูญเสีย การจัดการกับการสูญเสียและได้รับการสนับสนุนทางสังคมจะช่วยให้คู่สมรสผ่านพ้นอารมณ์เศร้าโศกหลังจากการเสียชีวิตของผู้ป่วยระยะสุดท้ายได้.
DOI
10.58837/CHULA.CMJ.60.2.6
First Page
185
Last Page
199
Recommended Citation
เสถียรภัทรนันท์, รัสรินทร์; ลือบุญธวัชชัย, พีรพนธ์; and แดงด้อมยุทธ์, เพ็ญนภา
(2016)
"ประสบการณ์การสูญเสียคู่สมรสหลังจากการเสียชีวิตของผู้ป่วยระยะสุดท้าย ณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์,"
Chulalongkorn Medical Journal: Vol. 60:
Iss.
2, Article 6.
DOI: https://doi.org/10.58837/CHULA.CMJ.60.2.6
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/clmjournal/vol60/iss2/6