•  
  •  
 
Chulalongkorn Medical Journal

Abstract

เหตุผลของการทำวิจัย : ปัจจุบันน้ำยาตรวจหมู่โลหิต anti-M ของศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติสภากาชาดไทย ผลิตขึ้นมาจากการฉีดกระตุ้นกระต่าย (rabbit polyclonalantibody) แอนติบอดีที่ผลิตได้มีความจำเพาะไม่คงที่และความแรงที่ได้ค่อนข้างต่ำวัตถุประสงค์ : เพื่อพัฒนาการผลิตน้ำยาตรวจหมู่โลหิตโมโนโคลนัล anti-Mวัสดุและวิธีการ : ใช้เทคนิคการเชื่อมเซลล์ระหว่าง B-lymphocyte ที่มีการสร้าง anti-Mกับเซลล์มะเร็งสายพันธุ์เดียวกัน (JMS-3) ทำให้ได้เซลล์สายพันธุ์ที่คงทนในการสร้าง anti-M จากนั้นนำน้ำเลี้ยงเซลล์ที่ได้จากโคลนใหม่ (clone 1F9)มาศึกษาคุณสมบัติต่าง ๆ โดยเปรียบเทียบกับ rabbit polyclonal anti-Mของศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติเดิม และ monoclonal anti-M ของบริษัทต่างประเทศผลการศึกษา : พบว่าน้ำยา human monoclonal anti-M (clone 1F9) ที่พัฒนาขึ้นใหม่มีความแรงของแอนติบอดี (potency) ดีกว่าน้ำยาตรวจหมู่โลหิต rabbitpolyclonal anti-M ของศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติเดิมและเทียบเท่าหรือดีกว่า monoclonal anti-M ของบริษัทต่างประเทศ ด้านความเร็วของแอนติบอดี (avidity) ในการเกิดปฏิกิริยากับเม็ดเลือดแดงหมู่โลหิตที่มีM-antigen positive บนสไลด์ พบว่ามีความเร็วเฉลี่ย 1 - 2 วินาทีซึ่งไม่แตกต่างกันในน้ำยาทั้ง 3 ชนิด ด้านความจำเพาะของแอนติบอดี(specificity) พบว่าให้ผลถูกต้องแม่นยำร้อยละ 100 โดยให้ปฏิกิริยาผลบวกกับเม็ดเลือดแดงหมู่โลหิตที่มี M-antigen positive จำนวน 800 รายให้ปฏิกิริยาผลลบกับเม็ดเลือดแดงหมู่โลหิตที่มี M-antigen negativeจำนวน 400 ราย และยังให้ปฏิกิริยาผลลบทั้งหมดกับ papainizedidentification panel cells (Lot 58040) ด้านความคงทนของแอนติบอดี(stability) พบว่าสามารถเก็บ human monoclonal anti-M (clone 1F9)ไว้ที่อุณหภูมิ 4C ได้มากกว่า 18 เดือน โดยที่ความแรงไม่ลดลง ด้านผลของ pH ต่อการเกิดปฏิกิริยาของแอนติบอดี พบว่าน้ำยาทั้ง 3 ชนิดสามารถทำปฏิกิริยาได้ดีในช่วง pH ที่กว้างคือ pH 5 ถึง pH 9 ส่วนในด้านผลของอุณหภูมิต่อการเกิดปฏิกิริยาของแอนติบอดีพบว่าน้ำยา humanmonoclonal anti-M (clone 1F9) สามารถทำปฏิกิริยาได้ดีที่อุณหภูมิต่ำคือเกิดปฏิกิริยาที่อุณหภูมิ 4C และ 20 - 25C (อุณหภูมิห้อง) ได้ดีกว่าที่อุณหภูมิ 37Cสรุป : จากคุณสมบัติต่าง ๆ ที่ได้ทำการทดสอบทั้งหมดนี้ แสดงให้เห็นว่าการพัฒนาการผลิตน้ำยาตรวจหมู่โลหิตโมโนโคลนัล anti-M ในครั้งนี้เหมาะที่จะนำมาผลิตเป็นน้ำยาตรวจหมู่โลหิต human monoclonalanti-M เพื่อใช้ในงานธนาคารเลือดต่อไป.

Publisher

Faculty of Medicine, Chulalongkorn University

First Page

101

Last Page

113

Share

COinS