•  
  •  
 
Chulalongkorn Medical Journal

Abstract

เหตุผลของการทำวิจัย : ในปีพ.ศ. 2551 ได้มีการศึกษาความเครียดของนักศึกษาซึ่งศึกษากฎหมาย ณ สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา พบว่านักศึกษาร้อยละ 58.7 มีความเครียดในระดับสูงถึงรุนแรง เวลาและสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป อาจทำให้พบความเครียดที่แตกต่างไปจากเดิมวัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาความเครียดของนักศึกษาซึ่งศึกษา ณ สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา ในปีพ.ศ. 2557รูปแบบการวิจัย : การศึกษาวิจัยเชิงพรรณนา ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่งสถานที่ทำการศึกษา : สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภาตัวอย่างและวิธีการศึกษา : เก็บรวบรวมข้อมูลจาก นักศึกษาซึ่งศึกษา ณ สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา จำนวน 435 คน โดยใช้แบบสอบถามแบบตอบด้วยตนเอง ประกอบด้วย 1) แบบสอบถามข้อมูลพื้นฐาน 2) แบบทดสอบความเครียดสวนปรุงชุด 20 ข้อ 3) แบบสอบถามวิธีจัดการความเครียดของนักศึกษาซึ่งศึกษา ณ สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภาผลการศึกษา : พบว่ากลุ่มตัวอย่างจำนวนร้อยละ 41.6 มีความเครียดในระดับสูงและร้อยละ 14.3 มีความเครียดในระดับรุนแรง โดยมีปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความเครียด ได้แก่ โรคทางกาย ที่มาของรายได้หลัก ความเพียงพอของรายได้ การมีรายได้เหลือเก็บ การมีหนี้สิน สถานภาพสมรส และการใช้พฤติกรรมเชิงลบเพื่อจัดการความเครียด โดยพบว่าปัจจัยที่ทำนายความเครียดของนักศึกษา ได้แก่ ความเพียงพอของรายได้ปัญหาสุขภาพ และสถานภาพสมรสสรุป : นักศึกษาซึ่งศึกษา ณ สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภามีความเครียดในระดับสูงถึงรุนแรง รวมกันเกินกว่าครึ่งหนึ่งของนักศึกษาที่เข้าร่วมการวิจัย คิดเป็นจำนวนร้อยละ 55.9 โดยสัดส่วน ผู้ที่มีความเครียดสูงและรุนแรงลดลงเล็กน้อยกว่าปีพ.ศ. 2551 ปัจจัยที่ทำนายความเครียด ได้แก่ ความเพียงพอของรายได้ ปัญหาสุขภาพและสถานภาพสมรส.

DOI

10.58837/CHULA.CMJ.60.1.7

First Page

85

Last Page

100

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.