Abstract
เหตุผลของการทำวิจัย : ในปีพ.ศ. 2551 ได้มีการศึกษาความเครียดของนักศึกษาซึ่งศึกษากฎหมาย ณ สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา พบว่านักศึกษาร้อยละ 58.7 มีความเครียดในระดับสูงถึงรุนแรง เวลาและสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป อาจทำให้พบความเครียดที่แตกต่างไปจากเดิมวัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาความเครียดของนักศึกษาซึ่งศึกษา ณ สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา ในปีพ.ศ. 2557รูปแบบการวิจัย : การศึกษาวิจัยเชิงพรรณนา ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่งสถานที่ทำการศึกษา : สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภาตัวอย่างและวิธีการศึกษา : เก็บรวบรวมข้อมูลจาก นักศึกษาซึ่งศึกษา ณ สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา จำนวน 435 คน โดยใช้แบบสอบถามแบบตอบด้วยตนเอง ประกอบด้วย 1) แบบสอบถามข้อมูลพื้นฐาน 2) แบบทดสอบความเครียดสวนปรุงชุด 20 ข้อ 3) แบบสอบถามวิธีจัดการความเครียดของนักศึกษาซึ่งศึกษา ณ สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภาผลการศึกษา : พบว่ากลุ่มตัวอย่างจำนวนร้อยละ 41.6 มีความเครียดในระดับสูงและร้อยละ 14.3 มีความเครียดในระดับรุนแรง โดยมีปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความเครียด ได้แก่ โรคทางกาย ที่มาของรายได้หลัก ความเพียงพอของรายได้ การมีรายได้เหลือเก็บ การมีหนี้สิน สถานภาพสมรส และการใช้พฤติกรรมเชิงลบเพื่อจัดการความเครียด โดยพบว่าปัจจัยที่ทำนายความเครียดของนักศึกษา ได้แก่ ความเพียงพอของรายได้ปัญหาสุขภาพ และสถานภาพสมรสสรุป : นักศึกษาซึ่งศึกษา ณ สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภามีความเครียดในระดับสูงถึงรุนแรง รวมกันเกินกว่าครึ่งหนึ่งของนักศึกษาที่เข้าร่วมการวิจัย คิดเป็นจำนวนร้อยละ 55.9 โดยสัดส่วน ผู้ที่มีความเครียดสูงและรุนแรงลดลงเล็กน้อยกว่าปีพ.ศ. 2551 ปัจจัยที่ทำนายความเครียด ได้แก่ ความเพียงพอของรายได้ ปัญหาสุขภาพและสถานภาพสมรส.
DOI
10.58837/CHULA.CMJ.60.1.7
First Page
85
Last Page
100
Recommended Citation
ถาวรยุธร, เชิงชาย and กัลยาศิริ, รัศมน
(2016)
"ความเครียดของนักศึกษาซึ่งศึกษา ณ สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา,"
Chulalongkorn Medical Journal: Vol. 60:
Iss.
1, Article 7.
DOI: https://doi.org/10.58837/CHULA.CMJ.60.1.7
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/clmjournal/vol60/iss1/7