•  
  •  
 
Chulalongkorn Medical Journal

Abstract

เหตุผลของการทำวิจัย : รูปแบบความผูกพันที่มารดามีมาตั้งแต่ในวัยเด็ก ส่งผลให้มารดาเกิดรูปแบบความคิด อารมณ์ พฤติกรรม และการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นตามลักษณะประสบการณ์ความผูกพันเดิมของมารดาซึ่งการศึกษาการดำเนินไปของรูปแบบความผูกพันในประเทศไทยมีน้อยวัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาการดำเนินไปของรูปแบบความผูกพันตั้งแต่เมื่อมารดาเป็นเด็กและเมื่อมารดาเป็นผู้เลี้ยงดูบุตรเองรูปแบบการวิจัย : ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพสถานที่ทำการศึกษา : แผนกผู้ป่วยนอกจิตเวชเด็ก โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์กลุ่มตัวอย่างและวิธีการศึกษา : เก็บข้อมูลในมารดาผู้ป่วยจิตเวชเด็ก โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์จำนวน 12 คน โดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview)ร่วมกับการใช้ข้อคำถาม (semi-structured questionnaire) ของAdult Attachment Interview และตรวจสอบความน่าเชื่อถือของข้อมูลแบบสามเส้าด้านข้อมูล (Data triangulation) ร่วมกับวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis)ผลการศึกษา : จากการสัมภาษณ์มารดา 12 คน พบว่าส่วนใหญ่ในช่วงวัยเด็กมีความผูกพันแบบวิตกกังวลไม่แน่ใจ (Insecure ambivalentattachment) และความผูกพันแบบมั่งคง (Secure attachment)และเมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่ พบว่าส่วนใหญ่มารดามีความผูกพันแบบหมางเมิน (Dismissing)สรุป : รูปแบบความผูกพันของมารดาในวัยเด็ก มีที่มาจากการรับรู้ประสบการณ์ที่ผู้ดูแลมีต่อตนเอง เช่น พฤติกรรมการตอบสนองหรือความเข้มข้นของความ สัมพันธ์ที่ผู้ดูแลมีต่อตนเอง จากการศึกษาพบว่าความผูกพันในวัยเด็กมี การเปลี่ยนแปลงเมื่อเวลาผ่านไป ซึ่งมีปัจจัยเกี่ยวข้อง เช่น มีประสบการณ์ การสูญเสียบุคคลที่ผูกพัน ไม่มีเครือข่ายทางสังคมอื่น ๆ ไม่มีที่ปรึกษาเมื่อตนเองมีความเครียด ไม่สามารถมีความรู้สึกเป็นตัวของตัวเองได้อย่างชัดเจน หรือเคยถูกคุกคามทางร่างกายและทางเพศ.

Publisher

Faculty of Medicine, Chulalongkorn University

First Page

73

Last Page

84

Share

COinS