•  
  •  
 
Chulalongkorn Medical Journal

Abstract

เหตุผลของการทำวิจัย : รูปแบบความผูกพันที่มารดามีมาตั้งแต่ในวัยเด็ก ส่งผลให้มารดาเกิดรูปแบบความคิด อารมณ์ พฤติกรรม และการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นตามลักษณะประสบการณ์ความผูกพันเดิมของมารดาซึ่งการศึกษาการดำเนินไปของรูปแบบความผูกพันในประเทศไทยมีน้อยวัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาการดำเนินไปของรูปแบบความผูกพันตั้งแต่เมื่อมารดาเป็นเด็กและเมื่อมารดาเป็นผู้เลี้ยงดูบุตรเองรูปแบบการวิจัย : ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพสถานที่ทำการศึกษา : แผนกผู้ป่วยนอกจิตเวชเด็ก โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์กลุ่มตัวอย่างและวิธีการศึกษา : เก็บข้อมูลในมารดาผู้ป่วยจิตเวชเด็ก โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์จำนวน 12 คน โดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview)ร่วมกับการใช้ข้อคำถาม (semi-structured questionnaire) ของAdult Attachment Interview และตรวจสอบความน่าเชื่อถือของข้อมูลแบบสามเส้าด้านข้อมูล (Data triangulation) ร่วมกับวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis)ผลการศึกษา : จากการสัมภาษณ์มารดา 12 คน พบว่าส่วนใหญ่ในช่วงวัยเด็กมีความผูกพันแบบวิตกกังวลไม่แน่ใจ (Insecure ambivalentattachment) และความผูกพันแบบมั่งคง (Secure attachment)และเมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่ พบว่าส่วนใหญ่มารดามีความผูกพันแบบหมางเมิน (Dismissing)สรุป : รูปแบบความผูกพันของมารดาในวัยเด็ก มีที่มาจากการรับรู้ประสบการณ์ที่ผู้ดูแลมีต่อตนเอง เช่น พฤติกรรมการตอบสนองหรือความเข้มข้นของความ สัมพันธ์ที่ผู้ดูแลมีต่อตนเอง จากการศึกษาพบว่าความผูกพันในวัยเด็กมี การเปลี่ยนแปลงเมื่อเวลาผ่านไป ซึ่งมีปัจจัยเกี่ยวข้อง เช่น มีประสบการณ์ การสูญเสียบุคคลที่ผูกพัน ไม่มีเครือข่ายทางสังคมอื่น ๆ ไม่มีที่ปรึกษาเมื่อตนเองมีความเครียด ไม่สามารถมีความรู้สึกเป็นตัวของตัวเองได้อย่างชัดเจน หรือเคยถูกคุกคามทางร่างกายและทางเพศ.

DOI

10.58837/CHULA.CMJ.60.1.6

First Page

73

Last Page

84

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.