Abstract
เหตุผลของการทำวิจัย : มารดาเด็กออทิสติกได้รับผลกระทบทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ ตลอดจนเศรษฐกิจสังคม ดังนั้นการดูแลบุตรออทิสติกมารดาจึงต้องมีการปรับตัวและได้รับการสนับสนุนทางสังคม ผู้วิจัยจึงทำการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการสนับสนุนทางสังคมและการปรับตัวของมารดาเด็กออทิสติกเพื่อให้หน่วยงานหรือบุคลากรที่เกี่ยวข้องให้ความช่วยเหลือเด็กออทิสติกและมารดาต่อไปวัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาการสนับสนุนทางสังคมและการปรับตัวของมารดาเด็กออทิสติก ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการปรับตัวของมารดาเด็กออทิสติก และความสัมพันธ์ของการสนับสนุนทางสังคมกับการปรับตัวของมารดาเด็กออทิสติกรูปแบบการวิจัย : การศึกษานี้เป็นวิจัยเชิงพรรณนาโดยศึกษา ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่งสถานที่ทำการศึกษา : สถาบันราชานุกูล กรุงเทพมหานครตัวอย่างและวิธีการ : มารดาเด็กออทิสติก อายุ 3 - 7 ปี ที่นำเด็กมารับการรักษาแบบผู้ป่วยนอกณ สถาบันราชานุกูล จำนวน 92 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่1) แบบสอบถามข้อมูลทั่วไปของมารดาและบุตร 2) แบบสอบถามการปรับตัวของมารดาเด็กออทิสติกสร้างขึ้นโดยประพา หมายสุขตามหลักแนวคิดของ Roy & Andrew และ Bobak & Jensen3) แบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคม The Personal Resource Questionnaire : PRQ Part II ของ Brand and Weinert แปลเป็นฉบับภาษาไทย โดยสุภาพ ชุณวิรัตน์ ใช้สถิติเชิงพรรณนาในการอธิบายลักษณะทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ร้อยละ ความถี่ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติเชิงอนุมานในการทดสอบความสัมพันธ์ของการสนับสนุนทางสังคมกับการปรับตัวของมารดาเด็กออทิสติกปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการปรับตัว และปัจจัยพยากรณ์ โดยใช้สถิติPearson correlation, Independent samples t-test, One way ANOVAและ Multiple linear regression.ผลการศึกษา : การสนับสนุนทางสังคมและการปรับตัวของมารดาเด็กออทิสติกอยู่ในระดับปานกลาง(68.5%) ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการปรับตัวของมารดาเด็กออทิสติกคือ อายุของบุตรออทิสติก และอายุของมารดา โดยพบว่ามารดาที่มีบุตรอายุที่อายุ 6 ปี ขึ้นไป มีค่าคะแนนเฉลี่ยของการปรับตัวโดยรวม และด้านความสามารถในการเลี้ยงดูเด็กมากกว่าอายุของบุตรออทิสติกที่อายุมากกว่า 4 ปี – น้อยกว่า 6 ปี (p <0.05) และมารดาที่มีบุตรอายุ 6 ปี ขึ้นไป มีการปรับตัวด้านการยอมรับต่อสภาพบุตรมากกว่ามารดาที่มีบุตรอายุน้อยกว่าหรือเท่ากับ 4 ปี (p <0.05) และมารดาที่มีอายุมากกว่า 30 –น้อยกว่า 40 ปี มีการปรับตัวด้านการรับผิดชอบต่ออนาคตบุตรมากกว่ามารดาที่อายุน้อยกว่าหรือเท่ากับ 30 ปี(p <0.05) การสนับสนุนทางสังคมของมารดาเด็กออทิสติกมีความสัมพันธ์กับการปรับตัวของมารดาเด็กออทิสติก (p <0.01) และการสนับสนุนทางสังคมเป็นปัจจัยที่สามารถพยากรณ์การปรับตัวของมารดา ซึ่งสามารถพยากรณ์ได้ ร้อยละ 17 (p <0.05)สรุป : จากการศึกษาครั้งนี้ชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของอายุบุตรและมารดารวมทั้งการสนับ สนุนทางสังคมที่มีผลต่อการปรับตัวของมารดาเด็กออทิสติก ซึ่งสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในทางปฏิบัติและงานวิจัยต่อไป.
DOI
10.58837/CHULA.CMJ.59.6.9
First Page
703
Last Page
716
Recommended Citation
นิ่มบุตร, ศรสลัก and วัชรสินธุ, อลิสา
(2015)
"การศึกษาการสนับสนุนทางสังคมและการปรับตัวของมารดาเด็กออทิสติกที่นำเด็กมารับการรักษาแบบผู้ป่วยนอก ณ สถาบันราชานุกูล,"
Chulalongkorn Medical Journal: Vol. 59:
Iss.
6, Article 9.
DOI: https://doi.org/10.58837/CHULA.CMJ.59.6.9
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/clmjournal/vol59/iss6/9