Abstract
เหตุผลของการวิจัย : ปัญหาทางสุขภาพจิต เป็นปัญหาที่พบบ่อยในผู้ป่วยที่มีโรคทางกายรุนแรง แต่ยังมีการศึกษาความชุกและปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะวิตกกังวลและภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักภายหลังผ่าตัดเปิดทวารเทียมทางหน้าท้องในประชากรไทยน้อยวัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาความชุกและปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะวิตกกังวลและภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักที่มีทวารเทียมทางหน้าท้อง ณ.โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์รูปแบบการวิจัย : การศึกษาวิจัยเชิงพรรณนา ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่งสถานที่ทำการศึกษา แผนกผู้ป่วยนอกศัลยกรรมลำไส้ใหญ่และทวารหนัก โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทยตัวอย่างและวิธีการศึกษา : เก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก ที่ได้รับการผ่าตัดเปิดทวารเทียมทางหน้าท้อง จำนวน 80 ราย ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม จนถึงเดือนตุลาคม พ.ศ. 2557 โดยให้ผู้ป่วยตอบแบบสอบถามทั้งหมด 4 ส่วนด้วยตนเอง ได้แก่ 1) ข้อมูลทั่วไปและข้อมูลด้านการรักษา 2) แบบสอบถามความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง3) แบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคม (The Personal ResourceQuestionnaire, PRQ 85 Part II) 4) แบบวัดภาวะวิตกกังวลและภาวะซึมเศร้า Thai Hospital anxiety and depression scale (Thai-HADS) การวิเคราะห์ ข้อมูลโดยใช้สถิติ Chi-Square test สหสัมพันธ์ของเพียรสัน (Pearson Correlation) และ Multivariate LogisticRegression analysis.ผลการศึกษา : พบว่ามีความชุกของภาวะวิตกกังวล ร้อยละ 35 และความชุกของภาวะซึมเศร้าร้อยละ 10 ปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะวิตกกังวลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p <0.05) ได้แก่ อายุ ระยะเวลาในการเจ็บป่วยระยะเวลาที่มีทวารเทียม ภาวะแทรกซ้อนที่ผู้ป่วยหรือกลุ่มตัวอย่างให้ความสำคัญในเรื่องการเข้าสังคม ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองและการสนับสนุนทางสังคม และปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p <0.05) ได้แก่ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองและการสนับสนุนทางสังคม และมีปัจจัยที่ทำนายภาวะวิตกกังวลได้แก่ อายุตั้งแต่ 60 ปี (OR = 5.07; 95%CI = 1.57 - 16.42) ระยะเวลาในการเจ็บป่วยน้อยกว่า 6 เดือน (OR = 5.19; 95%CI = 1.14 -23.64) ระยะเวลาที่มีทวารเทียมน้อยกว่า 3 เดือน (OR = 4.96,95%CI = 1.58 - 15.58) แต่ไม่สามารถหาปัจจัยทำนายของภาวะซึมเศร้าได้ เนื่องจากไม่ตรงตามเงื่อนไขที่มีผู้ป่วย 8 รายเท่านั้นสรุป : ผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักที่ได้รับการผ่าตัดทวารเทียมทางหน้าท้อง ร้อยละ 35 มีภาวะวิตกกังวลและร้อยละ 10 มีภาวะซึมเศร้า และพบว่าความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองและการสนับสนุนทางสังคมเป็นปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะวิตกกังวลและภาวะซึมเศร้าดังนั้นการส่งเสริมความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองและการสนับสนุนทางสังคม อาจจะช่วยลดภาวะวิตกกังวลและภาวะซึมเศร้า.
DOI
10.58837/CHULA.CMJ.59.6.8
First Page
691
Last Page
702
Recommended Citation
พิพัฒน์ผล, วิลาสินี and เหมรัญช์โรจน์, โสฬพัทธ์
(2015)
"ความชุกและปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะวิตกกังวลและภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักที่มีทวารเทียมทางหน้าท้อง ณ. โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์,"
Chulalongkorn Medical Journal: Vol. 59:
Iss.
6, Article 8.
DOI: https://doi.org/10.58837/CHULA.CMJ.59.6.8
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/clmjournal/vol59/iss6/8