Abstract
เหตุผลของการทำวิจัย : โรคสมาธิสั้นเป็นโรคจิตเวชเด็กที่พบได้บ่อย ปัจจุบันมีการใช้ยาpsychostimulantsในการรักษามากขึ้น และมีการหยุดยาในช่วงวันหยุด (drug holidays) เพื่อประโยชน์ต่าง ๆ เช่น ลดผลข้างเคียงจากยา เป็นต้น แต่ปัจจุบันประเทศไทยยังไม่มีข้อมูลชัดเจนเกี่ยวกับการสั่งหยุดยาดังกล่าวในช่วงวันหยุดวัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาพฤติกรรมและปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจสั่งหยุดยาpsychostimulants ในช่วงวันหยุด รวมถึงเจตคติของแพทย์ต่อการใช้ยาดังกล่าวในการรักษาผู้ป่วยเด็กโรคสมาธิสั้นรูปแบบการวิจัย : การศึกษาวิจัยเชิงพรรณนา ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่งตัวอย่างและวิธีการศึกษา : ผู้วิจัยพัฒนาแบบสอบถาม เกี่ยวกับปัจจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติหยุดยาในช่วงวันหยุด โดยส่งแบบสอบถามทาง e-mailและไปรษณีย์ไปยังกลุ่มเป้าหมายทุกคนรวม 106 คน ประกอบด้วยกุมารแพทย์สาขาพัฒนาการและพฤติกรรมเด็ก 91 คน และแพทย์ประจำบ้านต่อยอดพัฒนาการและพฤติกรรมเด็ก 15 คน ตั้งแต่1 ธันวาคม 2557 จนถึง 30 พฤศจิกายน 2558 ได้รับการตอบกลับแบบสอบถามรวม 76 คน (ร้อยละ 71.7) ทำการรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ผลทางสถิติผลการศึกษา : ส่วนใหญ่แพทย์พิจารณาหยุดยาในช่วงวันหยุดเป็นราย ๆ แล้วแต่กรณีจำนวน 54 คน (ร้อยละ 71.1), ให้กินยาต่อเนื่องทุกวัน 20 คน(ร้อยละ 26.3) แนะนำให้หยุดยาในวันหยุด 2 คน (ร้อยละ 2.6), โดยปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจหยุดยา 5 อันดับแรกได้แก่ความรุนแรงของอาการโรคสมาธิสั้น, ปัญหาสัมพันธภาพระหว่างผู้ป่วยกับสมาชิกครอบครัวจากอาการโรคสมาธิสั้น,การมี oppositional defiant disorder,conduct disorder เป็นโรคร่วม, ความร่วมมือของผู้ปกครองในการปรับพฤติกรรมร่วมในการรักษา เจตคติต่อการใช้ยาค่อนข้างเป็นไปในทางบวก ซึ่งผลการศึกษาบางส่วนมีความแตกต่างจากจิตแพทย์เด็กและวัยรุ่นสรุป : กุมารแพทย์พัฒนาการและพฤติกรรมเด็กส่วนใหญ่พิจารณาหยุดยาpsychostimulants เป็นราย ๆ แล้วแต่กรณีในการรักษาผู้ป่วยเด็กโรคสมาธิสั้น อย่างไรก็ตามยังมีความคิดเห็นหลากหลายเกี่ยวกับปัจจัยที่เกี่ยวข้องต่อการสั่งหยุดยา ควรมีการวิจัยเพิ่มเติมเพื่อหาข้อมูลสรุปผล พัฒนาเป็นแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจนต่อไป.
DOI
10.58837/CHULA.CMJ.59.6.7
First Page
675
Last Page
689
Recommended Citation
ปรีชาวุฒิเดช, ศศิธร and วิทยาศัย, วัลย์ฐิภา
(2015)
"การสั่งหยุดยา psychostimulantsในวันหยุดในการรักษาผู้ป่วยเด็กโรคสมาธิสั้นของกุมารแพทย์ และแพทย์ประจำบ้านต่อยอดสาขาพัฒนาการและพฤติกรรมเด็กในประเทศไทย,"
Chulalongkorn Medical Journal: Vol. 59:
Iss.
6, Article 7.
DOI: https://doi.org/10.58837/CHULA.CMJ.59.6.7
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/clmjournal/vol59/iss6/7