Abstract
การผ่าตัดปลูกถ่ายมือ (Hand transplantation, Vascularized Composite Allotransplantation)ประสบความสำเร็จตั้งแต่ ปี 1998 ปัจจุบันทั่วโลกมีการผ่าตัดปลูกถ่ายมือไปแล้วถึง 89 ครั้ง ซึ่งผลการรักษาที่ยาวนานที่สุดถึง 14 ปี โดยผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดยังสามารถใช้งานมือที่ปลูกถ่ายได้เป็นอย่างดีจนถึงปัจจุบัน โดยเฉลี่ยการผ่าตัดปลูกถ่ายมือมีอัตราความสำเร็จสูงมาก (5-year survivalของมือที่ปลูกถ่าย มากกว่าร้อยละ 90) และการใช้งานของมือที่ปลูกถ่ายก็สามารถใช้งานได้มากถึงร้อยละ65-75 ของมือปรกติ นอกจากนั้นข้อได้เปรียบที่ชัดเจนของการผ่าตัดปลูกถ่ายมือเทียบกับการใช้มือเทียมคือผู้ป่วยสามารถรับความรู้สึกได้ด้วยมือข้างที่ปลูกถ่ายแม้การผ่าตัดปลูกถ่ายมือจะประสบความสำเร็จมามากกว่า 10 ปี แต่ข้อบ่งชี้ในการผ่าตัดชนิดนี้ยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ถึงความคุ้มค่าในการผ่าตัดกับความเสี่ยงที่ต้องใช้ยากดภูมิคุ้มกันในระยะยาว เนื่องจากการผ่าตัดปลูกถ่ายมือนั้นเป็นการผ่าตัดเพื่อ “ เพิ่มคุณภาพชีวิต “ ซึ่งแตกต่างจากการผ่าตัดเปลี่ยน solid organ เช่น หัวใจ ตับ ไต ซึ่งเป็นการผ่าตัดเพื่อช่วยชีวิตของผู้ป่วยทำให้แพทย์บางกลุ่มยังลังเลกับการรักษาด้วยวิธีนี้อยู่จนถึงปัจจุบัน.
DOI
10.58837/CHULA.CMJ.59.6.6
First Page
667
Last Page
674
Recommended Citation
เหลืองจามีกร, ภพ and กิติดำรงสุข, ประวิทย์
(2015)
"การผ่าตัดปลูกถ่ายมือ,"
Chulalongkorn Medical Journal: Vol. 59:
Iss.
6, Article 6.
DOI: https://doi.org/10.58837/CHULA.CMJ.59.6.6
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/clmjournal/vol59/iss6/6