•  
  •  
 
Chulalongkorn Medical Journal

Abstract

เหตุผลของการทำวิจัย : ภาวะซึมเศร้าเป็นปัญหาสุขภาพจิตที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ ซึ่งมักพบว่ามี ปัจจัยทางจิตสังคมที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ เหตุการณ์ความเครียดในชีวิต การสนับสนุนทางสังคมและการมีส่วนร่วมในชุมชน ผู้วิจัยจึงทำการศึกษาภาวะซึมเศร้า และปัจจัยทางจิตสังคม เพื่อที่จะเข้าใจภาวะซึมเศร้า และช่วยส่งเสริมสุขภาพจิตของผู้สูงอายุได้อย่างมีประสิทธิภาพวัตถุประสงค์ : เพื่อหาความชุกของภาวะซึมเศร้า และศึกษาปัจจัยทางจิตสังคมที่เกี่ยวข้องกับภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุสังกัดศูนย์บริการสาธารณสุข 48 นาควัชระอุทิศรูปแบบการวิจัย : การศึกษาวิจัยเชิงพรรณนา ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่งสถานที่ทำการศึกษา : ชมรมผู้สูงอายุสังกัดศูนย์บริการสาธารณสุข 48 นาควัชระอุทิศตัวอย่างและวิธีการศึกษา : ศึกษาในผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุสังกัดศูนย์บริการสาธารณสุข 48นาควัชระอุทิศ จำนวน 240 คน โดยให้กลุ่มตัวอย่างตอบแบบสอบถาม5 แบบสอบถาม ได้แก่ 1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบวัดความเศร้า ในผู้สูงอายุของไทย (Thai Geriatric Depression Scale -TGDS) 3) แบบสอบถามเหตุการณ์ความเครียดในชีวิตในช่วง 1 ปี(1 – Year Life Event Questionnaire) 4) แบบประเมินการสนับสนุนทางสังคม (Social Support Questionnaire) และ 5) แบบสอบถามการมีส่วนร่วมในสังคมของผู้สูงอายุ วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่าง ๆ กับภาวะซึมเศร้า โดยใช้การทดสอบไคสแควร์และวิเคราะห์ความถดถอยแบบลอจิสติกเพื่อหาปัจจัยทำนายภาวะซึมเศร้าผลการศึกษา : ความชุกของภาวะซึมเศร้า พบได้ร้อยละ 15.4 โดยปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะซึมเศร้า มี 6 ปัจจัย ได้แก่ สถานภาพสมรสโสด/หม้าย/หย่าร้าง/แยกกันอยู่ ความไม่เพียงพอของรายได้ ประวัติโรคทางจิตเวชเหตุการณ์ความเครียดในชีวิตระดับสูง การสนับสนุนทางสังคมระดับต่ำและการมีส่วนร่วมในชุมชนระดับต่ำและพบว่าปัจจัยที่ทำนายภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุ มี 4 ปัจจัย ได้แก่ สถานภาพโสด/หม้าย/หย่าร้าง/แยกกันอยู่ ประวัติโรคทางจิตเวช เหตุการณ์ความเครียดในชีวิตระดับสูง และการมีส่วนร่วมในชุมชนระดับต่ำสรุป : ความชุกของภาวะซึมเศร้าในการศึกษานี้ ใกล้เคียงกับผลการศึกษาอื่น ๆ ที่ผ่านมา ซึ่งปัจจัยทางจิตสังคมที่สัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าได้แก่ เหตุการณ์ความเครียดในชีวิต การสนับสนุนทางสังคม และการมีส่วนร่วมในชุมชน การสนับสนุนให้ผู้สูงอายุได้มีส่วนร่วมในชุมชน เช่น การเข้าร่วมชมรมผู้สูงอายุ น่าจะมีส่วนช่วยในการลดภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุ.

DOI

10.58837/CHULA.CMJ.59.6.10

First Page

717

Last Page

730

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.