Abstract
เหตุผลของการทำวิจัย : การใช้เวลาเรียนที่มากเกินไปของเด็กที่อยู่ในช่วงวัยประถมศึกษาตอนปลายเป็นปัจจัยสำคัญประการหนึ่งที่ส่งผลต่อสุขภาพจิตของเด็กซึ่งมีการแสดงออกผ่านพฤติกรรม ดังนั้น จึงได้ทำการศึกษาการแสดงออกด้านปัญหาพฤติกรรมของเด็กโดยทำการศึกษาในเด็กที่เรียนกวดวิชาและไม่เรียนกวดวิชาวัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาการแสดงออกทางด้านปัญหาพฤติกรรมของเด็กประถมศึกษาตอนปลาย ศึกษาความแตกต่างของการแสดงออกทางด้านปัญหาพฤติกรรมของเด็กที่เรียนกวดวิชากับเด็กที่ไม่เรียนกวดวิชา รวมถึงศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการแสดงออกทางด้านปัญหาพฤติกรรมของเด็กที่เรียนกวดวิชาชั้นประถมศึกษาตอนปลายรูปแบบการวิจัย : การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาศึกษา ณ เวลาใดเวลาหนึ่งสถานที่ทำการศึกษา : โรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.)เขตกรุงเทพมหานครตัวอย่างและวิธีการ : ประชากรที่ศึกษาคือ เด็กที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลาย ในโรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐานเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 422 คน ทำการเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามพฤติกรรมการกวดวิชาและแบบประเมินการแสดงออกทางพฤติกรรม (The strengths and difficultiesquestionnaire (SDQ) ฉบับภาษาไทย) และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้Pearson correlation, independent t-test, one way ANOVA และMultiple Regression Analysis ตามความเหมาะสมผลการศึกษา : จากการประเมินการแสดงออกทางพฤติกรรม (The strengthsanddifficulties questionnaire: SDQ) โดยผู้ปกครองและเด็กพบความชุกของปัญหาพฤติกรรมร้อยละ 17.5 และ 25.8 ตามลำดับ เมื่อใช้เกณฑ์การเรียนกวดวิชาพบว่าเด็กที่เรียนกวดวิชากับเด็กที่ไม่เรียนกวดวิชามีปัญหาพฤติกรรมไม่แตกต่างกัน และพบว่าความชุกของปัญหาพฤติกรรมมีค่าใกล้เคียงกับความชุกของปัญหาพฤติกรรมในเด็กทั่วไป แสดงให้เห็นว่าการเรียนกวดวิชาไม่ได้เป็นปัจจัยทีสำคัญของการเกิดปัญหาพฤติกรรมในเด็ก และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับปัญหาพฤติกรรมจากการประเมินของเด็ก ได้แก่ เพศ (p <0.05) และผลการเรียน (p <0.05) จากการประเมินของผู้ปกครอง ได้แก่ สถานภาพสมรสของบิดามารดา (p <0.01) การศึกษาของบิดามารดา (p <0.01) และผลการเรียน (p<0.01)สรุป : ปัญหาพฤติกรรมของเด็กชั้นประถมศึกษาตอนปลายโดยรวมอยู่ในระดับใกล้เคียงกับปัญหาพฤติกรรมของเด็กทั่วไป และเด็กที่เรียนกวดวิชากับเด็กที่ไม่เรียนกวดวิชามีปัญหาพฤติกรรมที่ไม่แตกต่างกัน โดยมีปัจจัยที่เกี่ยวข้องคือ เพศ สถานภาพสมรสของบิดามารดาการศึกษาของบิดามารดาและผลการเรียน.
DOI
10.58837/CHULA.CMJ.59.5.9
First Page
587
Last Page
603
Recommended Citation
เนตรสง่า, นิชนันท์ and จันทร์ศิร, ปริชวัน
(2015)
"การแสดงออกทางด้านปัญหาพฤติกรรมของเด็กที่เรียนกวดวิชาชั้นประถมศึกษาตอนปลาย เขตกรุงเทพมหานคร,"
Chulalongkorn Medical Journal: Vol. 59:
Iss.
5, Article 9.
DOI: https://doi.org/10.58837/CHULA.CMJ.59.5.9
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/clmjournal/vol59/iss5/9