Abstract
เหตุผลของการทำวิจัย : โรคสมาธิสั้นเป็นโรคทางจิตเวชเด็กที่พบได้บ่อย และยากลุ่มpsychostimulant ได้รับการศึกษาว่ามีประสิทธิภาพดี ปลอดภัยและเป็นที่ยอมรับในการรักษาโรคสมาธิสั้นมานาน ปัจจุบันยังไม่มีข้อสรุปที่บอกถึงแนวทางการบริหารยานี้ในช่วงวันหยุดเพื่อให้ผู้ป่วยได้รับประโยชน์สูงสุด แพทย์จึงยังมีความเห็นและการปฏิบัติในการสั่งยากลุ่มนี้แตกต่างกันวัตถุประสงค์ : งานวิจัยนี้จัดทำขึ้นเพื่อศึกษาพฤติกรรมการสั่งหยุดยาในช่วงวันหยุดปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจ รวมถึงเจตคติของแพทย์ต่อการใช้ยากลุ่มpsychostimulant ในการรักษาผู้ป่วยสมาธิสั้นรูปแบบการวิจัย : การศึกษาวิจัยเชิงพรรณนา ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่งตัวอย่างและวิธีการศึกษา : ผู้วิจัยคิดแบบสอบถามเพื่อศึกษาปัจจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องและส่งแบบสอบถามไปยังกลุ่มเป้าหมายทุกคนที่สามารถติดต่อได้รวม 182 คนประกอบด้วยจิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น 164 คน และแพทย์ประจำบ้านสาขาจิตเวชเด็ก และวัยรุ่น 18 คน ทำการรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ผลทางสถิติผลการศึกษา : การวิจัยครั้งนี้มีผู้เข้าร่วม 132 คน แบ่งเป็น จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น114 คน และแพทย์ประจำบ้าน 18 คน ผลการวิจัยพบว่าแพทย์116 คน (ร้อยละ 87.9) มีเจตคติด้านบวกต่อการใช้ยา แพทย์ 27 คน(ร้อยละ 20.5) ให้ผู้ป่วยทุกรายรับประทานยาต่อเนื่องทุกวัน, 4 คน(ร้อยละ 3.0) ให้ผู้ป่วยทุกรายหยุดยาในช่วงวันหยุด และ 101 คน(ร้อยละ 76.5) พิจารณาการสั่งหยุดยาในวันหยุดเป็นบางกรณี โดยปัจจัยสำคัญที่แพทย์ให้น้ำหนักจากคะแนนเต็ม 5 คะแนนในการพิจารณาคือ ผลข้างเคียงเรื่องการเบื่ออาหาร (4.2 ± 0.95) ความรุนแรงของอาการสมาธิสั้น (4.1 ± 1.15) และผลข้างเคียงทั่วไปอื่น ๆ จากการใช้ยา (4.1 ± 1.12) และพบว่าปัจจัยด้านสถานศึกษาของแพทย์มีผลต่อพฤติกรรมการสั่งหยุดยาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในกลุ่มแพทย์ประจำบ้าน (p = 0.007) และอยู่ในระดับคาบเกี่ยวที่จะมีนัยสำคัญทางสถิติในกลุ่มจิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น (p = 0.058)สรุป : แม้ว่ายังไม่พบข้อสรุปที่ชัดเจนเรื่องความเหมาะสมในการบริหารยาในช่วงวันหยุด แต่พบปัจจัยที่ควรได้รับการศึกษาต่อเพื่อหาข้อสรุปและแนวทางการปฏิบัติร่วมกันในการบริหารยา psychostimulant ในช่วงวันหยุดของกลุ่มผู้ป่วยเด็กสมาธิสั้นในประเทศไทย.
DOI
10.58837/CHULA.CMJ.59.5.7
First Page
555
Last Page
569
Recommended Citation
กล่อมจันทร์, ตติมา and พิทยรัตน์เสถียร, ณัทธร
(2015)
"พฤติกรรมการสั่งหยุดยา psychostimulant ในวันหยุดของจิตแพทย์และแพทย์ประจำบ้านสาขาจิตเวชเด็กและวัยรุ่นในประเทศไทยในการรักษาผู้ป่วยโรคสมาธิสั้น,"
Chulalongkorn Medical Journal: Vol. 59:
Iss.
5, Article 7.
DOI: https://doi.org/10.58837/CHULA.CMJ.59.5.7
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/clmjournal/vol59/iss5/7