Abstract
เหตุผลของการทำวิจัย : การเรียนการสอนในคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ นิสิตจะต้องใช้ความสามารถทั้งด้านศิลปะ และวิทยาศาสตร์ เพื่อให้ได้ผลงานที่สมบูรณ์แบบ และในระหว่างที่กำลัง ศึกษายังมีเรื่องของเวลา คณาจารย์และสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ของคณะเข้ามาเกี่ยวข้องอีกด้วย ซึ่งทั้งหมดนี้อาจส่งผลต่อความเครียดของนิสิตวัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาระดับและปัจจัยในเรื่องการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับความเครียดของนิสิตระดับปริญญาตรี ภาควิชาสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยรูปแบบการวิจัย : การศึกษาวิจัยเชิงพรรณนา ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่งสถานที่การทำการศึกษา : ภาควิชาสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยตัวอย่างและวิธีการศึกษา : เก็บรวบรวมข้อมูลจากนิสิตภาควิชาสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชั้นปีที่ 1 - 5 ปีการศึกษา 2557จำนวนทั้งสิ้น 323 คน โดยใช้แบบสอบถาม ข้อมูลทั่วไปและแบบวัดความเครียด สถิติที่ใช้ได้แก่ Descriptive Statistic, Chi-Square Testและ Multiple Logistic Regression Analysisผลการศึกษา : กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ (39.7%) มีความเครียดอยู่ในระดับปานกลางมีค่าเฉลี่ยคะแนน ความเครียดรวมเท่ากับ 65.8 และค่า S.D. เท่ากับ31.1 เมื่อวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ได้พบปัจจัยที่มีผลต่อความเครียดของกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ จำนวนงานที่ได้รับมอบหมาย ในแต่ละรายวิชาที่มาก (OR = 2.16, 95%C.I.= 1.23 - 3.80, p <0.01), จำนวนครั้งของ การตรวจแบบกับอาจารย์ประจำกลุ่มที่น้อย (OR = 0.61,95%C.I.= 0.38 - 0.98, p = 0.04) และอายุที่เพิ่มขึ้นของนิสิต(OR = 1.34, 95%C.I. = 1.11-1.60, p <0.01) ตามลำดับสรุป : นิสิตภาควิชาสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ส่วนมากมีความเครียดรวมในระดับปานกลาง และระดับความเครียดสัมพันธ์กับจำนวนงานที่ได้รับมอบหมายที่มากจำนวนการตรวจแบบกับอาจารย์ที่น้อย และอายุของนิสิตที่เพิ่มขึ้น.
DOI
10.58837/CHULA.CMJ.59.5.6
First Page
539
Last Page
554
Recommended Citation
วงศ์ไทย, ภควัต and นิ่มนวล, ชัยชนะ
(2015)
"ความเครียดของนิสิตระดับปริญญาตรี ภาควิชาสถาปัตยกรรมคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,"
Chulalongkorn Medical Journal: Vol. 59:
Iss.
5, Article 6.
DOI: https://doi.org/10.58837/CHULA.CMJ.59.5.6
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/clmjournal/vol59/iss5/6