•  
  •  
 
Chulalongkorn Medical Journal

Abstract

เหตุผลของการทำวิจัย : การเรียนพิเศษเพื่อเตรียมสอบเข้ามหาวิทยาลัยส่งผลให้นักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายเกิดความเครียด ขึ้น ซึ่งเป็นสถานการณ์ที่สังคมไทยปัจจุบันเผชิญอยู่ปัจจัยด้านต่าง ๆ เช่น เพศ ความคาดหวังต่อตนเองความคาดหวังของผู้ปกครอง ระยะเวลาการเรียนพิเศษ แผนการเรียน ฯลฯปัจจัยต่าง ๆ เหล่านี้อาจส่งผลต่อความเครียดของนักเรียนได้วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาระดับความเครียดและความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเครียดของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายในกรุงเทพมหานครที่เรียนพิเศษเพื่อเตรียมสอบเข้ามหาวิทยาลัยรูปแบบการวิจัย : การศึกษานี้เป็นวิจัยเชิงพรรณนาโดยศึกษา ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่งสถานที่ทำการศึกษา : อาคารวรรณสรณ์ ซึ่งเป็นอาคารแหล่งรวมสถาบันกวดวิชาที่ใหญ่ที่สุดตั้งอยู่บริเวณแยกถนนพญาไท กรุงเทพมหานครตัวอย่างและวิธีการ : เป็นการศึกษาในนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายทั้งเพศหญิงและชาย อายุ16 - 18 ปี จำนวน 384 คน ในภาคการเรียนที่ 1 ปีการศึกษา2557 โดยใช้แบบสอบถามส่วนบุคคล จำนวน 10 ข้อ และแบบประเมินความเครียดสวนปรุง (SPST-20) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาในการหาข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง แสดงค่าสถิติเป็นค่าเฉลี่ยเลขคณิตความถี่ ร้อยละและใช้ค่า Mean ± SD และใช้สถิติเชิงอนุมานในการหาข้อมูลสถิติเชิงลักษณะในการเปรียบเทียบปัจจัยที่อาจจะมีผลต่อความเครียดของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายที่เรียนพิเศษ โดยใช้สถิติIndependent sample t-test, One-way ANOVA, multiple linearregression, regression analysis and Pearson correlationผลการศึกษา : พบว่านักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายในกรุงเทพมหานคร ที่เรียนพิเศษเพื่อเตรียมสอบเข้ามหาวิทยาลัย ส่วนใหญ่มีความเครียดในระดับสูง(ร้อยละ 48.2) มีความคาดหวังต่อตนเอง (ร้อยละ 70.3) สำหรับความคาดหวังของผู้ปกครองต่อนักเรียน (ร้อยละ 68.5) อยู่ในระดับปานกลางสรุป : นักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายที่เรียนกวดวิชาเพื่อเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา ในเขตกรุงเทพมหานคร มีความเครียดอยู่ในระดับสูงนักเรียนมีความคาดหวังต่อตนเองและผู้ปกครองมีความคาดหวังต่อตัวนักเรียนอยู่ในระดับปานกลาง.

Publisher

Faculty of Medicine, Chulalongkorn University

First Page

445

Last Page

455

Share

COinS