•  
  •  
 
Chulalongkorn Medical Journal

Abstract

เหตุผลของการทำวิจัย : การเรียนพิเศษเพื่อเตรียมสอบเข้ามหาวิทยาลัยส่งผลให้นักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายเกิดความเครียด ขึ้น ซึ่งเป็นสถานการณ์ที่สังคมไทยปัจจุบันเผชิญอยู่ปัจจัยด้านต่าง ๆ เช่น เพศ ความคาดหวังต่อตนเองความคาดหวังของผู้ปกครอง ระยะเวลาการเรียนพิเศษ แผนการเรียน ฯลฯปัจจัยต่าง ๆ เหล่านี้อาจส่งผลต่อความเครียดของนักเรียนได้วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาระดับความเครียดและความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเครียดของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายในกรุงเทพมหานครที่เรียนพิเศษเพื่อเตรียมสอบเข้ามหาวิทยาลัยรูปแบบการวิจัย : การศึกษานี้เป็นวิจัยเชิงพรรณนาโดยศึกษา ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่งสถานที่ทำการศึกษา : อาคารวรรณสรณ์ ซึ่งเป็นอาคารแหล่งรวมสถาบันกวดวิชาที่ใหญ่ที่สุดตั้งอยู่บริเวณแยกถนนพญาไท กรุงเทพมหานครตัวอย่างและวิธีการ : เป็นการศึกษาในนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายทั้งเพศหญิงและชาย อายุ16 - 18 ปี จำนวน 384 คน ในภาคการเรียนที่ 1 ปีการศึกษา2557 โดยใช้แบบสอบถามส่วนบุคคล จำนวน 10 ข้อ และแบบประเมินความเครียดสวนปรุง (SPST-20) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาในการหาข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง แสดงค่าสถิติเป็นค่าเฉลี่ยเลขคณิตความถี่ ร้อยละและใช้ค่า Mean ± SD และใช้สถิติเชิงอนุมานในการหาข้อมูลสถิติเชิงลักษณะในการเปรียบเทียบปัจจัยที่อาจจะมีผลต่อความเครียดของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายที่เรียนพิเศษ โดยใช้สถิติIndependent sample t-test, One-way ANOVA, multiple linearregression, regression analysis and Pearson correlationผลการศึกษา : พบว่านักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายในกรุงเทพมหานคร ที่เรียนพิเศษเพื่อเตรียมสอบเข้ามหาวิทยาลัย ส่วนใหญ่มีความเครียดในระดับสูง(ร้อยละ 48.2) มีความคาดหวังต่อตนเอง (ร้อยละ 70.3) สำหรับความคาดหวังของผู้ปกครองต่อนักเรียน (ร้อยละ 68.5) อยู่ในระดับปานกลางสรุป : นักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายที่เรียนกวดวิชาเพื่อเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา ในเขตกรุงเทพมหานคร มีความเครียดอยู่ในระดับสูงนักเรียนมีความคาดหวังต่อตนเองและผู้ปกครองมีความคาดหวังต่อตัวนักเรียนอยู่ในระดับปานกลาง.

DOI

10.58837/CHULA.CMJ.59.4.9

First Page

445

Last Page

455

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.