•  
  •  
 
Chulalongkorn Medical Journal

Abstract

เหตุผลของการทำการวิจัย : คณะแพทยศาสตร์ ได้นำระบบการเรียนการสอนอิเล็กทรอนิกส์มาช่วยเสริมการเรียนของนิสิตแพทย์มาเป็นระยะเวลานาน โดยมีการพัฒนาปรับปรุงระบบอย่างต่อเนื่อง ทั้งทางด้านอุปกรณ์ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ รวมทั้งเนื้อหาวิชาในรูปแบบการบรรยายอิเล็กทรอนิกส์(e-lecture) เพื่อสร้างวัฒนธรรมของการเรียนรู้ของนิสิตแพทย์ และการศึกษาตามอัธยาศัย โดยผู้เรียนสามารถเรียนเมื่อไรก็ได้ เรียนที่ใดก็ได้ ตามความต้องการของนิสิตแพทย์วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้ระบบการเรียนการสอนอิเล็กทรอนิกส์ของนิสิตแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และนำเสนอแนวทางในการพัฒนาระบบที่ตอบสนองความต้องการของนิสิตมากขึ้นรูปแบบการวิจัย : การสำรวจสถานที่ทำการวิจัย คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยวิธีดำเนินการวิจัย : ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นการสำรวจพฤติกรรมการใช้ระบบการจัดการเรียนการสอนอิเล็กทรอนิกส์ของนิสิตแพทย์ในคณะแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นลักษณะของการเรียนการสอนอิเล็กทรอนิกส์ในรูปแบบการบรรยายอิเล็กทรอนิกส์ ระหว่างภาคการศึกษาต้น ปีการศึกษา 2555 (ระหว่างเดือนพฤษภาคม – ตุลาคม2555) โดยใช้แบบสอบถามที่มีการกำหนดตัวแปรและเก็บรวบรวมข้อมูล เพื่อนำมาศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลรวมทั้งการรวบรวมข้อมูลพฤติกรรมการเข้าใช้ความต้องการ และทัศนคติที่มีต่อ ระบบการเรียนการสอนอิเล็กทรอนิกส์ รวมทั้งการเก็บรวบรวมข้อมูลจากระบบการเรียนการสอนอิเล็กทรอนิกส์คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยผลการวิจัย : บทเรียนที่บรรจุในระบบทั้งหมด 665 บทเรียน ในจำนวนนี้ 468บทเรียน (ร้อยละ 70.4) เป็นบทเรียนในระดับปริญญาตรี โดย389 บทเรียน (ร้อยละ 83.1) เป็นบทเรียนในระดับชั้นปรีคลินิก(ชั้นปีที่ 1 - 3) พบว่ามีผู้เข้าใช้ระบบทั้งหมด 38,091 ครั้ง โดยแยกตามเดือนได้ดังนี้ เดือนมิถุนายน 4,806 ครั้ง เดือน กรกฏาคม 8,400ครั้ง เดือนสิงหาคม 15,097 ครั้ง เดือนกันยายน 5,337 ครั้ง และเดือนตุลาคม 4,451 ครั้งเมื่อพิจารณาถึงช่วงเวลาที่นิสิตเข้าใช้ระบบการจัดการเรียนการสอนอิเล็กทรอนิกส์ของคณะฯ พบว่าในช่วงเวลาที่เข้าใช้สูงสุดคือ ตั้งแต่ 8.00 – 15.59 น. มีการใช้ทั้งหมด 20,470 ครั้ง (ร้อยละ53.74) จำนวนการเข้าใช้ในแต่ละวันของสัปดาห์คือ วันอาทิตย์ จำนวน6,757 ครั้ง จำนวนการเข้าใช้แยกตามชั้นปีของนิสิตแพทย์ มากที่สุดคือนิสิตแพทย์ชั้นปีที่ 1 จำนวน 18,671 ครั้ง (ร้อยละ 49.01) การเข้าใช้ระบบการจัดการเรียนการสอนอิเล็กทรอนิกส์ แยกตามสถานที่ที่เข้าใช้ คือ จากภายนอกคณะฯ และมหาวิทยาลัย 24,589 ครั้ง(ร้อยละ 64.55)ในส่วนของข้อเสนอแนะที่จะให้มีการเข้าใช้ระบบการจัดการเรียนการสอนอิเล็กทรอนิกส์ มากขึ้นพบว่า ร้อยละ 68.29นิสิตแพทย์มีความต้องการให้ระบบสามารถใช้ได้ในอุปกรณ์แบบพกพา เช่น Smartphone หรือ Tablet ได้ นอกจากนี้ ร้อยละ 67.17นิสิตแพทย์ ยังมีความเห็นว่าหากบทเรียนมีการปรับปรุง ทุกปี และร้อยละ 61.17 จะมีปริมาณการเข้าใช้มากขึ้น การดาวน์โหลดไฟล์ได้ง่ายก็เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ผู้ใช้มากขึ้นเช่นเดียวกันสรุป : เพิ่มเนื้อหาให้ครอบคลุมทุกชั้นปี และในส่วนของนิสิตหลังปริญญาเพิ่มรูปแบบการใช้งานนอกเหนือจากการเข้าชมการบรรยาย เช่นเอกสารประกอบการสอน การประเมินความรู้ อาจรวมถึงข้อสอบเก่าพัฒนาคุณภาพของภาพและเสียงให้ดียิ่งขึ้น การผลิตบทเรียนในส่วนของหลักสูตรหลังปริญญาเป็นแนวทางที่น่าสนใจเนื่องจากการศึกษานี้พบว่ามีสัดส่วนผู้ใช้มากขึ้นเรื่อย ๆ.

DOI

10.58837/CHULA.CMJ.59.4.8

First Page

429

Last Page

444

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.