•  
  •  
 
Chulalongkorn Medical Journal

Abstract

เหตุผลของการทำวิจัย : ในปัจจุบันการผ่าตัดกระจกทั้งสองข้างในวันเดียวกันยังไม่ได้เป็นมาตรฐานในการรักษาผู้ป่วยที่เป็นโรคต้อกระจกของตาทั้งสองข้างเนื่องด้วยแพทย์ยังมีความกังวลถึงภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นโดยเฉพาะภาวะติดเชื้อในลูกตาทั้งสองข้าง ปัจจุบันยังไม่มีงานวิจัยที่สามารถให้ข้อสรุปที่ชัดเจนวัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาเปรียบเทียบระหว่างการผ่าตัดต้อกระจกทั้งสองข้างในวันเดียวกัน กับการผ่าตัดต้อกระจกแยกวันในตาแต่ละข้าง ในด้านการเกิดภาวะแทรกซ้อนและประสิทธิภาพของการผ่าตัดรูปแบบการวิจัย : การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบและการวิเคราะห์อภิมานสถานที่ทำการวิจัย : โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ตัวอย่างและวิธีการศึกษา : คณะผู้จัดทำคัดเลือกวรรณกรรมทั้งประเภท Randomized controlledtrial และ Non-randomized controlled trial รวมถึง Observationalstudy ที่เกี่ยวข้อง หลังจากนั้นจึงให้ผู้ทบทวนวรรณกรรม 2 คนแยกกันพิจารณาวรรณกรรมที่คัดเลือกได้ โดยมีผลลัพธ์ของการศึกษาคือผลข้างเคียงทั้งระหว่างผ่าตัดและหลังผ่าตัด และความสามารถในการเห็นก่อนและหลังผ่า ผู้จัดทำใช้ l² ในการประเมิน heterogeneityและคำนวณ Odd ratio ร่วมกับ 95% interval สำหรับข้อมูลทวิภาคผลการศึกษา : จากการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบค้นพบวรรณกรรมทั้งสิ้น8 วรรณกรรม ได้แก่ Randomized controlled trial 3 วรรณกรรม Nonrandomizedcontrolled trial 2 วรรณกรรม และ Case series 3วรรณกรรม ประกอบด้วยกลุ่มตัวอย่าง 2161 คนในกลุ่ม ISBP และ933 คนในกลุ่ม DSBP โดยภาวะแทรกซ้อนระหว่างการผ่าตัดที่พบคือเยื่อหุ้มเลนส์ด้านหลังฉีกขาด ส่วนภาวะแทรกซ้อนหลังการผ่าตัด ได้แก่โรคม่านตาอักเสบ ความดันลูกตาสูง และจุดรับภาพตรงกลางบวมโดยไม่พบอุบัติการณ์ของภาวะติดเชื้อในลูกตาเลยในแต่ละวรรณกรรมส่วนด้านความสามารถในการเห็นแต่ละงานวิจัยมีความแตกต่างในเรื่องมาตรวัดและค่ากลางทางสถิติ จึงไม่สามารถนำผลงานวิจัยมาเปรียบเทียบระหว่างกันได้ อย่างไรก็ตามไม่พบความแตกต่างระหว่างสองกลุ่มสรุป : ไม่พบความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระหว่างการผ่าตัดทั้งสองวิธีทั้งด้านภาวะแทรกซ้อนและความสามารถในการเห็น.

Publisher

Faculty of Medicine, Chulalongkorn University

First Page

413

Last Page

428

Share

COinS