Abstract
โรคตับอ่อนอักเสบเฉียบพลันเป็นโรคที่พบบ่อยในเวชปฏิบัติทั่วไป ซึ่งมักได้รับการดูแลรักษาโดยอายุรแพทย์ ในปี พ.ศ. 2556 นี้ได้มีการทบทวนคำนิยามและการจัดหมวดหมู่ของโรคตับอ่อนอักเสบเฉียบพลันและภาวะแทรกซ้อนหลังจากการทบทวนครั้งที่แล้วเมื่อ 20 ปีก่อน ซึ่งได้แบ่งระดับความรุนแรงของตับอ่อนอักเสบเฉียบพลันออกเป็นระดับที่รุนแรงน้อย รุนแรงปานกลางและรุนแรงมากโดยประมาณร้อยละ 80 จะเป็นกลุ่มผู้ป่วยตับอ่อนอักเสบเฉียบพลันชนิดที่รุนแรงน้อย ปัจจุบันพบว่ามีปัจจัยหลายอย่างทั้งทางคลินิก ทางการตรวจทางห้องปฏิบัติการ และทางการตรวจทางรังสีวิทยาที่ใช้ทำนายระดับความรุนแรงของโรคตับอ่อนอักเสบเฉียบพลัน แต่ไม่ว่าตับอ่อนอักเสบเฉียบพลันจะมีระดับความรุนแรงใด การรักษาประคับประคองยังคงเป็นการรักษาที่สำคัญที่สุดเสมอ ซึ่งหมายถึงการดูแลผู้ป่วยให้มีการไหลเวียนโลหิตที่ดีและมีระดับออกซิเจนไปเลี้ยงเนื้อเยื่อเพียงพอ, ลดอาการปวดของผู้ป่วย, ให้สารอาหารอย่างเพียงพอ, และเฝ้าติดตามอาการผู้ป่วยอย่างใกล้ชิดในหออภิบาลผู้ป่วยหนักในกรณีที่เป็นผู้ป่วยตับอ่อนอักเสบระดับรุนแรงมาก โดยผู้ป่วยบางรายอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนเฉพาะที่ อันได้แก่ การคั่งของของเหลวรอบตับอ่อน, ซิสต์เทียมของตับอ่อน, เนื้อตายของตับอ่อนในระยะเฉียบพลัน และเนื้อตายของตับอ่อนที่มีผนังล้อมรอบ ทั้งชนิดติดเชื้อหรือปลอดเชื้อ โดยในผู้ป่วยเหล่านี้หากมีอาการคงที่หรือดีขึ้น สามารถให้การรักษาด้วยการประคับประคองต่อได้ แต่หากภาวะแทรกซ้อนนั้นก่อให้เกิดอาการหรือผู้ป่วยมีอาการแย่ลงมีความจำเป็นต้องได้รับการรักษาภาวะแทรกซ้อนนั้นด้วยการทำหัตถการเพิ่มเติมที่มีทั้งวิธีทางการส่องกล้อง, ทางการเจาะผ่านผิวหนัง หรือทางการผ่าตัด โดยบทความนี้จะได้กล่าวถึงการรักษาในปัจจุบันดังจะกล่าวในรายละเอียดต่อไป.
DOI
10.58837/CHULA.CMJ.59.4.6
First Page
395
Last Page
411
Recommended Citation
พฤกษพานิช, ปิยะพันธ์; อรรถเวชกุล, ภูรีพัทธ์; เอื้อวงศ์ศิน, จีรวัชร์; เจียสกุล, ฐิตา; and ตรีประเสริฐสุข, สมบัติ
(2015)
"การรักษาตับอ่อนอักเสบเฉียบพลัน,"
Chulalongkorn Medical Journal: Vol. 59:
Iss.
4, Article 6.
DOI: https://doi.org/10.58837/CHULA.CMJ.59.4.6
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/clmjournal/vol59/iss4/6