•  
  •  
 
Chulalongkorn Medical Journal

Abstract

เหตุผลของการวิจัย : โรคหลอดเลือดสมองเป็นสาเหตุสำคัญที่ส่งผลให้ผู้ป่วยเสียชีวิต และเกิดความพิการระยะยาวซึ่งส่งผลกระทบไปยังผู้ดูแลผู้ป่วยทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ และสังคมของผู้ดูแลผู้ป่วยทำให้เกิดภาวะซึมเศร้าตามมาแต่อย่างไรก็ตามงานวิจัยในประเทศไทยมีการศึกษาในประเด็นนี้เป็นจำนวนน้อย และเป็นระยะเวลานานแล้วที่มีการศึกษา ผู้วิจัยจึงสนใจศึกษาในประเด็นดังกล่าววัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาความชุกของภาวะซึมเศร้าและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะซึมเศร้าในผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่พาผู้ป่วยมารับการรักษาณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์รูปแบบการวิจัย : การวิจัยเชิงพรรณนา ศึกษา ณ ช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งสถานที่ทำการศึกษา : แผนกอายุรกรรมประสาท และแผนกเวชศาสตร์ฟื้นฟู โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ตัวอย่างและวิธีการศึกษา : ศึกษาในผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองจำนวน 96 คน โดยแบบสอบถามที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล,แบบประเมินดัชนีบาร์เทลอินเด็กซ์, แบบทดสอบความรู้สึกเป็นภาระ,แบบสอบถามแรงสนับสนุนทางสังคม และแบบสอบถามภาวะซึมเศร้า(BDI-IA) ใช้สถิติเชิงพรรณนาวิเคราะห์ค่าร้อยละ, ค่าเฉลี่ย, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เพื่อหาความชุกของภาวะซึมเศร้าสถิติไคสแควร์ เพื่อหาปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้า และสถิติถดถอยพหุคูณลอจิสติกเพื่อหาปัจจัยทำนายภาวะซึมเศร้าผลการศึกษา : จากการวิเคราะห์ข้อมูล พบว่าผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองมีภาวะซึมเศร้า ร้อยละ 44.8 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าในผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติในด้านผู้ดูแล ได้แก่ ความไม่เพียงพอของรายได้ การนอนหลับที่น้อยกว่า5 ชั่วโมง ความหนักใจในการดูแลอาการของผู้ป่วยโดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาด้านพฤติกรรม และการสื่อสารของผู้ป่วย แรงสนับสนุนทางสังคมต่ำ ความรู้สึกเป็นภาระมาก และปัจจัยด้านผู้ป่วย ได้แก่ การไม่สามารถช่วยเหลือตนเองในการทำกิจวัตรประจำวันของผู้ป่วย ปัจจัยทสามารถใช้พยากรณ์ภาวะซึมเศร้าได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ความไม่เพียงพอของรายได้ (OR = 4.20 95% CI = 1.31-13.39)การนอนหลับที่น้อยกว่า 5 ชั่วโมง (OR = 5.03 95% CI = 1.51-16.80)และความรู้สึกเป็นภาระมาก (OR = 9.05 95% CI = 2.68 - 30.55)ซึ่งการมีปัจจัยเสี่ยงดังกล่าวเพิ่มอัตราการเกิดภาวะซึมเศร้าในผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองสรุปผลการวิจัย : แพทย์ หรือผู้ที่เกี่ยวข้องในการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองควรมีการประเมิน หรือคัดกรองภาวะซึมเศร้าในผู้ดูแลผู้ป่วยร่วมด้วยเพื่อลดภาวะซึมเศร้าในผู้ดูแลผู้ป่วย และยังส่งผลต่อคุณภาพการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองได้.

Publisher

Faculty of Medicine, Chulalongkorn University

First Page

457

Last Page

469

Share

COinS