Abstract
การปลูกถ่ายอวัยวะ เป็นอีกหนึ่งในรูปแบบการรักษาที่มีการค้นคว้าพัฒนา และประสบความสำเร็จเพิ่มขึ้นต่อเนื่องมากว่าครึ่งศตวรรษ จากความสำเร็จดังกล่าวการปลูกถ่ายอวัยวะจึงกลายเป็นหนึ่งในกุญแจสำคัญทางการรักษา โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อรักษาชีวิต และทำให้ผู้เข้ารับการปลูกถ่ายสามารถกลับไปใช้ชีวิตของเขาอย่างมีคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป ผลพวงอีกประการจากความก้าวหน้าในการปลูกถ่ายคือ ความต้องการอวัยวะเพื่อการปลูกถ่ายมีมากขึ้นจนเกิดความไม่พอเพียง ถึงแม้หน่วยงานต่าง ๆ จะพยายามแก้ไขปัญหาโดยการเปิดศูนย์รับบริจาค ก็ยังพบว่าอวัยวะที่ได้จากการบริจาคไม่เพียงพอต่อความต้องการที่เพิ่มขึ้นการปลูกถ่ายในทุก ๆ ครั้งจึงมีความสำคัญอย่างมากจากการศึกษาที่ผ่านมาพบว่าปัจจัยที่ส่งผลทางลบต่อผลการปลูกถ่ายที่สำคัญปัจจัยหนึ่งคือการเกิดภาวะซึมเศร้า ที่แม้จะมีหลายงานวิจัยที่เน้นย้ำถึงอันตรายของภาวะซึมเศร้าที่มีต่อผู้ป่วยปลูกถ่ายอวัยวะทั้งในช่วงก่อนการปลูกถ่ายและหลังการปลูกถ่าย แต่กลับพบว่ามีงานวิจัยส่วนน้อยที่กล่าวถึงวิธีการจัดการหรือการบำบัดอย่างเป็นขั้นตอนที่มุ่งเน้นเพื่อลดภาวะซึมเศร้า และจากการสืบค้นยังไม่พบการศึกษาดังกล่าวในประเทศไทย ดังนั้น เพื่อให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น มีความร่วมมือในการรักษา มีอัตราการตายลดลง ทำให้การปลูกถ่ายแต่ละครั้งเกิดผลประโยชน์สูงสุด และมีความคุ้มค่ามากที่สุดการบำบัดหรือสร้างกระบวนการ เพื่อลดภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยปลูกถ่ายจึงมีความสำคัญ.
DOI
10.58837/CHULA.CMJ.59.4.1
First Page
339
Last Page
346
Recommended Citation
พันธุ์เสือ, เพ็ญภพ and เลิศมหาฤทธิ์, สมรัตน์
(2015)
"คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยปลูกถ่ายอวัยวะ,"
Chulalongkorn Medical Journal: Vol. 59:
Iss.
4, Article 1.
DOI: https://doi.org/10.58837/CHULA.CMJ.59.4.1
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/clmjournal/vol59/iss4/1