•  
  •  
 
Chulalongkorn Medical Journal

Abstract

เหตุผลของการทำวิจัย : การดำเนินชีวิตของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเห็นระดับชั้นมัธยมศึกษา ในโรงเรียนที่มีการจัดการเรียนแบบเรียนร่วมต้องมีปฏิสัมพันธ์กับสมาชิกในโรงเรียนคนอื่น ได้แก่ นักเรียนปกติ ครู และบุคลากรอื่น ๆ ซึ่งมีทั้งพฤติกรรมเชิงบวกลบงานวิจัยที่ผ่านมามีการทำการศึกษาเฉพาะระดับชั้นอนุบาล โดยยังมิได้มีการศึกษาความรู้สึกของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเห็นในระดับชั้นมัธยมวัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาปฏิสัมพันธ์ทางสังคมของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเห็นกับนักเรียนปกติ ครู และบุคลากรอื่น ๆ ในโรงเรียนที่มีการจัดการเรียนร่วมรูปแบบการวิจัย : การศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ส่วนบุคคลเชิงลึก (In-depth Interview) และการสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion)สถานที่ทำการศึกษา : โรงเรียนศรีอยุธยา ในพระอุปถัมภ์ฯ และโรงเรียนสันติราษฎร์วิทยาลัยตัวอย่างและวิธีการศึกษา : เก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 4 กลุ่ม ได้แก่ นักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเห็น ทั้งหมด 6 คน ซึ่งคัดเลือกด้วยวิธีการจับสลาก นักเรียนปกติ ครู และบุคลากรอื่น ๆ กลุ่มละ 18 คน ด้วยวิธีการสุ่มแบบสโนว์บอล โดยคัดเลือกจากบุคคลที่นักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเห็นรู้สึกชอบ และรู้สึกไม่ชอบ รวมถึงบุคคลที่เรียนร่วมหรือเคยมีปฏิสัมพันธ์กับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเห็น เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ ซึ่งเป็นแนวคำถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเองจากการทบทวนทฤษฎี และวรรณกรรมต่าง ๆ และนำไปให้ผู้ทรงคุณวุฒิตรวจสอบเพื่อนำมาปรับปรุงแก้ไขผลการศึกษา : นักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเห็นมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมกับนักเรียนปกติทั้งในเชิงบวกและเชิงลบ ซึ่งพฤติกรรมที่ทำให้นักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเห็นรู้สึกท้อแท้ในการจัดการเรียนร่วม คือพฤติกรรมทางด้านวาจาและการกระทำที่ไม่เหมาะสมของนักเรียนปกติส่วนปฏิสัมพันธ์ทางสังคมของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเห็นที่ได้รับจากครูส่วนใหญ่เป็นไปในเชิงบวก โดยครูจะให้การสนับสนุนนักเรียนเหล่านี้ทั้งในด้านการเรียน และด้านกิจกรรม ทั้งนี้ก็มีครูบางส่วนที่มองว่าควรมีการจัดให้นักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเห็นเรียนในโรงเรียนเฉพาะ และปฏิสัมพันธ์ทางสังคมระหว่างนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเห็นกับบุคลากรอื่น ๆ เป็นไปในเชิงบวก โดยบุคลากรอื่น ๆ ในโรงเรียนมองว่านักเรียนเหล่านี้เป็นบุคคลที่น่าสงสาร ควรได้รับการช่วยเหลือ รวมถึงการมองว่าการให้ความช่วยเหลือแก่นักเรียนเหล่านี้เป็นเรื่องของบุญกุศลสรุป : ถึงแม้การจัดการเรียนร่วมจะเป็นการส่งเสริมสิทธิของบุคคลที่มีความบกพร่องให้มีโอกาสเช่นเดียวกับคนปกติ ทั้งนี้อุปสรรคที่เกิดขึ้นต่อนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเห็นก็แสดงให้เห็นว่าลักษณะปฏิสัมพันธ์ทางสังคมระหว่างนักเรียนเหล่านี้กับกลุ่มบุคคลอื่นเป็นลักษณะที่เกิดขึ้นแบบส่วนบุคคล ถึงแม้ระบบการศึกษาจะมีการสนับสนุนความช่วยเหลือก็ตาม.

DOI

10.58837/CHULA.CMJ.59.2.1

First Page

325

Last Page

337

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.