•  
  •  
 
Chulalongkorn Medical Journal

Abstract

เหตุผลของการทำวิจัย : เนื่องจากเด็กอายุ 1 - 5 ปี จะกลายเป็นกำลังสำคัญของประเทศในอนาคตเด็ก ๆ เหล่านี้ได้เกิดในภูมิภาคที่แตกต่างกันไปในประเทศและเนื่องจากยังไม่มีข้อมูลการศึกษาเกี่ยวกับความแตกต่างของพัฒนาการของเด็กกลุ่มนี้วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาความแตกต่างของพัฒนาการและปัจจัยที่มีผลต่อพัฒนาการของเด็กอายุ 1 - 5 ปี ในกรุงเทพฯ กับเด็กในภาคเหนือตอนบนรูปแบบการวิจัย : การศึกษาวิจัยเชิงเปรียบเทียบ (Comparative Studies)สถานที่ทำการวิจัย : โรงเรียนในเขตบางกะปิ กรุงเทพฯ และในอำเภอลี้ จังหวัดลำพูนตัวอย่างและวิธีการศึกษา : เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างเด็กอายุ 1 - 5 ปี ทั้งหมด 260 คนในกรุงเทพฯ จำนวน 130 คน ในจังหวัดลำพูน จำนวน 130 คน โดยใช้แบบคัดกรองพัฒนาการเด็กอายุแรกเกิด – 5 ปี ฉบับกรมสุขภาพจิต(70 ข้อ) (TDSI) ทดสอบพัฒนาการเด็ก และใช้แบบสอบถามสำหรับผู้ปกครอง ใช้การทดสอบการแจกแจงแบบ HypergeomatricDistribution ด้วย Exact test ทดสอบความแตกต่างของข้อมูลทั่วไปและเปรียบเทียบความแตกต่างของพัฒนาการเด็กของทั้งสองที่ตรวจสอบปัจจัยที่มีผลต่อพัฒนาการเด็กด้วยสถิติ Fisher’s Exact Test และChi-Squareผลการศึกษา : พบว่าไม่มีความแตกต่างของพัฒนาการทั้ง 5 ด้าน พัฒนาการด้านการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กและสติปัญญา (FM) ในกรุงเทพฯ พบปัจจัยที่สัมพันธ์กัน คือ บุคคลที่เด็กอาศัยอยู่ด้วยในเด็กที่อาศัยอยู่กับทั้งบิดาและมารดา มีพัฒนาการที่สมวัยมากกว่าเด็กที่อาศัยอยู่กับบิดาคนเดียวมารดาคนเดียว ญาติ หรืออื่น ๆ (p <0.001) เด็กที่อยู่ในครอบครัวที่บิดามารดาที่มีสถานภาพสมรสกัน มีพัฒนาการที่สมวัยมากกว่าเด็กที่อยู่ในครอบครัวที่มีบิดาและมารดามีสถานภาพหย่าร้าง แยกกันอยู่และเป็นหม้าย (p <0.001) และเด็กที่อยู่ในครอบครัวเดี่ยวมีพัฒนาการสมวัยมากกว่าครอบครัวขยาย (p = 0.011) ในขณะที่ในจังหวัดลำพูนพบปัจจัย คือ เด็กที่อยู่ในครอบครัวที่บิดามารดามีสถานภาพสมรสกันมีพัฒนาการที่สมวัยมากกว่าเด็กที่อยู่ในครอบครัวที่มีบิดาและมารดามีสถานภาพหย่าร้าง แยกกันอยู่ และเป็นหม้าย (p = 0.005) พัฒนาการด้านการเข้าใจภาษา (RL) ในกรุงเทพฯ พบว่าเด็กที่เล่นมือถือ เกมส์เฉลี่ยวันละมากกว่า 3 ชั่วโมง มีผลลบต่อพัฒนาการมากกว่าเด็กที่เล่นน้อยกว่า 3 ชั่วโมง (p = 0.025) พัฒนาการด้านการใช้ภาษา (EL)ในจังหวัดลำพูนพบปัจจัย คือ การสูบบุหรี่ของมารดาก่อนการตั้งครรภ์(p = 0.034) และการสูบบุหรี่ระหว่างเลี้ยงดูเด็ก (p = 0.025) มีผลลบทำให้เด็กพัฒนาการไม่สมวัยสรุป : ไม่มีความแตกต่างของพัฒนาการของเด็กอายุ 1 - 5 ปี ในกรุงเทพฯกับเด็กในภาคเหนือตอนบน ปัจจัยที่มีผลต่อพัฒนาการของเด็กในกรุงเทพฯ คือ บุคคลที่เด็กอาศัยอยู่ด้วยสถานภาพสมรสของบิดามารดาลักษณะของครอบครัวและเด็กที่เล่นมือถือ เกมส์ เฉลี่ยวันละมากกว่า3 ชั่วโมง ส่วนในจังหวัดลำพูน ปัจจัยที่มีผลต่อพัฒนาการ คือ สถานภาพสมรสของบิดามารดา การสูบบุหรี่ของมารดาก่อนการตั้งครรภ์และระหว่างเลี้ยงดูเด็ก.

DOI

10.58837/CHULA.CMJ.59.3.7

First Page

313

Last Page

323

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.